หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » มณรัตน์ นิ่มสกุล
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
พุทธจิตวิทยาบูรณาการเพื่อดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุด้วยกระบวนการโยคะ (สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย : มณรัตน์ นิ่มสกุล ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  พุทธชาติ แผนสมบุญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแผนแบบการทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและวัดหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ดุลยภาพองค์รวมของผู้สูงอายุ วิเคราะห์หลักพุทธธรรม ทฤษฎีจิตวิทยารู้คิด และ แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการโยคะ ๒) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพุทธจิตวิทยาบูรณาการเพื่อดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุด้วยกระบวนการโยคะ ๓) เพื่อนำเสนอโปรแกรมพุทธจิตวิทยาบูรณาการเพื่อดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุด้วยกระบวนการโยคะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๗ ตำบลโพงาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน ๓๐ คน สุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ ๑๕ คน กลุ่มแรกเข้าฝึกอบรม ๓ วัน ๒ คืน
วัดประเมินผล ๓ ครั้ง ก่อนการทดลอง ภายหลังการฝึกอบรม และ ระยะติดตามผล ๑ เดือน กลุ่มที่สองใช้ชีวิตปกติ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ด้วยสถิติอ้างอิง เปรียบเทียบข้อมูล เพื่อทดสอบสมมุติฐาน ด้วยสถิติ T-test และ ค่า One-way ANOVA และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักการ
๑) สภาพปัญหาดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุ ได้แก่ ความเสื่อมทางร่ายกาย กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDS) โรคกระดูกและข้อต่อเสื่อม  มีภาวะซึมเศร้า มีปัญหาความขัดแย้งในสังคม ขาดความเข้าใจที่มีเหตุผล ในการดำเนินชีวิตให้สมดุล
๒)  โปรแกรมพุทธจิตวิทยาบูรณาการเพื่อดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุด้วยกระบวนการพุทธโยคะอินทรีย์สมดุล ๕ ขั้นตอน ดังนี้ ๑) ปรับสมดุลความเชื่อมั่นกับปัญญารู้คิด ๒) ปรับสมดุลความกล้าหาญในความพยายามกับสมาธิมุ่งมั่นเพื่อบรรลุเป้าหมาย  ๓) ตระหนักรู้และเชื่อมั่นในการพัฒนาสติ
๔) เข้าใจเหตุผล ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ๕)  เข้าถึงผลลัพธ์เชิงประจักษ์จากการฝึกพุทธโยคะ
๓) ผลของการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุเมื่อเข้าโปรแกรม พบว่า การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุรายด้านและโดยรวมระยะการทดลอง กับ หลังการทดลอง มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ สนับสนุนสมมติฐานข้อที่ ๑ และ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุรายด้านและโดยรวมหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลอง กับกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุรายด้านและโดยรวมหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลอง กับ กลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ คะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุรายด้านและโดยรวมของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลอง สูงกว่า กลุ่มควบคุม ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ ๒ ข้อค้นพบอื่นๆ มีดังนี้ คะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุรายด้านและโดยรวมก่อนการทดลองระหว่างกลุ่มทดลอง กับ กลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ คะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุรายด้านและโดยรวมก่อนการทดลองและหลังการทดลองในกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ คะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุรายด้านและโดยรวมระยะติดตามหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลอง
กับ กลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕  คะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุด้านร่างกายและโดยรวมหลังการทดลองและระยะติดตามในกลุ่มทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และคะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุด้านจิต สังคมและปัญญาหลังการทดลองและระยะติดตามในกลุ่มทดลองไม่ลดลงกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
และ คะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุรายด้านและโดยรวมหลังการทดลองและระยะติดตามในกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕