การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกกับพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี ๓) เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สามเณรที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในระดับมัธยมตอนต้นและมัธยมตอนปลาย ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี จำนวน ๙๗ รูป วิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อวัดผลปัจจัยการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี สถิติที่ใช้คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมารฐาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test/ One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า :
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า ๑๕ ปี เป็นบุตรลำดับที่ ๑ อาศัยอยู่กับบิดาและมารดา มีผลการศึกษา ๓.๐๐ – ๓.๔๙ อยู่ในระดับชั้นมัธยมตอนต้น มีระยะเวลาในการบรรพชา ๑-๓ ปี โดยที่อยู่ปัจจุบันพักอาศัยรวมกับเพื่อนสามเณร และมีภูมิลำเนาเดิมคือภาคอีสาน
สามเณรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ๓.๕๗ เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ความยึดหยุ่น การมองโลกในแง่ดีและความหวัง อยู่ในระดับมาก ส่วนความเชื่อมั่นในความสามรถของตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง
ปัจจัยส่วนบุคคลด้านที่พักอาศัยก่อนบรรพชามีความสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านอารมณ์ (จิตใจ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านสติปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกด้านความหวังมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านร่างกาย และสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกด้านความหวังมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวด้านร่างกาย สังคม และสติปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวก คือ ความหวัง ด้านการมองโลกในแง่ดี และด้านความยึดหยุ่น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดปทุมธานี อย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
Download |