หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอุทัยปริยัติโกศล (เสถียร ยอดสังวาลย์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๐ ครั้ง
รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดภาคกลาง (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอุทัยปริยัติโกศล (เสถียร ยอดสังวาลย์) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในจังหวัดภาคกลาง๒) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในจังหวัดภาคกลาง๓)เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในจังหวัดภาค

กลาง

แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑. ศึกษาสภาพการบริหารจัดการของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในจังหวัดภาคกลาง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๒ รูป/ คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ ๒. การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในจังหวัดภาคกลาง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๙ รูป/คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ ๓. การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในจังหวัดภาคกลางจากผู้ให้ข้อมูลคือ จำนวน ๑๕ รูป/คนเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินที่ถามความเหมาะสมใน ๔ ด้าน คือ โดยประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและประโยชน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

๑.สภาพการบริหารจัดการของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในจังหวัดภาคกลางพบว่าสภาพการบริหารจัดการศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์๓ ด้าน คือ ๑. ด้านนโยบายและแผน ประกอบด้วย ๑) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภายในศูนย์ ๒) ความคาดหวังต่อผู้เรียน ๒. ด้านวิชาการ ๑) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน ๒) การประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เรียน ๓. ด้านบุคลากร ๑) ภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์ ๒) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน ๓) ความสามัคคีของบุคลากร ๔) การพัฒนาบุคลากร

๒. รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในจังหวัดภาคกลางพบว่า รูปแบบการบริหารด้านนโยบายและแผนตามหลักศีล ๓ แนวทาง ตามหลักสมาธิ ๔ แนวทาง ตามหลักปัญญา ๕ แนวทาง รูปแบบการบริหารด้านวิชาการตามหลักศีล ๔ แนวทาง ตามหลักสมาธิ ๕ แนวทาง ตามหลักปัญญา ๓ แนวทาง และรูปแบบการบริหารด้านบุคลากร ตามหลักศีล ๔ แนวทาง ตามหลักสมาธิ ๔ แนวทาง ตามหลักปัญญา ๓ แนวทาง

๓.ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางทั้ง ๔ ด้าน มี ๓ รูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕