การวิจัยเรื่อง “แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านความซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓ จังหวัดนนทบุรี” ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วย ๑).การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓ จังหวัดนนทบุรี จำนวน ๓๗๕ คน ๒).การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและให้ข้อมูลหลัก ๕ คน ผลวิจัยตามวัตถุประสงค์ พบว่า
๑.สภาพปัญหาของการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน จากผลการสำรวจ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริต มีการประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อ “ตนเอง” และ “ผู้อื่น” โดยภาพรวมทั้ง ๒ อย่าง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย ๓.๔๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้ง ๒ อย่าง
๒.หลักและวิธีการการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของโรงเรียนซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเข็มทิศของโรงเรียน ส่วนมากมีวิสัยทัศน์ที่เน้นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมประจำโรงเรียน และได้กำหนดให้คุณธรรมเป็นเป้าหมายหลัก และกำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริม สนับสนุน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ทั้ง ๘ ด้าน หลักธรรมที่สามารถนำมาสนับสนับสนุนความซื่อสัตย์สุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ ประกอบด้วยหลักธรรม ๑)หลักธรรมว่าด้วย หิริ โอตัปปะ ๒)หลักธรรมว่าด้วยสุจริต ๓ และ ๓)หลักธรรมว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘
๓.แนวทางการพัฒนาพัฒนาคุณลักษณะด้านความซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีดังนี้
แนวทางที่ ๑ การพัฒนาหลักสูตรวิชาเฉพาะเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและ เยาวชน โดยจัดให้มีหลักสูตรวิชาดังกล่าวแยกต่างหากจาก กลุ่มสาระวิชาที่มีอยู่ในหลักสูตรปกติ
แนวทางที่ ๒ การบูรณาการกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีเข้าไปกับเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นการสอดแทรกการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีเข้าไปในการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระวิชา โดย เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับคุณลักษณะที่ต้องการเสริมสร้างพัฒนาให้เหมาะสม เป็นการ บูรณาการการ พัฒนาคุณลักษณะที่ดีกับการจัดการเรียนรู้ปกติ ให้นักเรียนมีความรู้ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรม จริยธรรม
แนวทางที่ ๓ การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร หมายถึง กิจกรรมที่จัดนอกเหนือจากที่ กำหนดไว้ในหลักสูตร ไม่ยึดติดกับเนื้อหาวิชา แต่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักสูตรหรือส่งเสริม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน และเป็นกิจกรรมที่ทำซ้ำไปซ้ำมาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
แนวทางที่ ๔ การจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชน ให้แตกต่างจากกิจกรรมเสริมหลักสูตรตรงที่กิจกรรมพิเศษจะจัดขึ้นเป็นครั้งคราว ตามวาระ ไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ และกิจกรรมดังกล่าวมักเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้นักเรียนจิตสำนึกในการพัฒนาตนเอง โดยกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้อาจเป็น กิจกรรมที่ให้สถาบันที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณลักษณะของ นักเรียน เช่น สถาบันครอบครัว โดยให้พ่อแม่ผู้ปกครองปลูกฝังและพัฒนาคุณลักษณะของเด็กและ เยาวชนเมื่ออยู่ในครอบครัว หรือสถาบันศาสนา สามารถใช้สถานที่สำคัญทางศาสนาทำกิจกรรม พัฒนาคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนได้ ทั้งนี้ควรมีการประเมินเพื่อกำกับติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของเด็กในกิจกรรมต่างๆ ระหว่างดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นผลักดัน ให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
Download |