การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระหน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังด้วยการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ห้อง ๒/๑ โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งหมด ๕๒ คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สาระหน้าที่พลเมือง หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง ชุมชนของเรา จำนวน ๓ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สาระหน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีประสิทธิภาพ และเห็นผลได้ชัดเจน เนื่องจาก การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ตามความถนัด ทำให้ผู้เรียนสามารถดึงความถนัดของตนเองมาใช้ในหาคำตอบจัดทำชิ้นงาน และเสนอความคิดของตนเอง เพื่อนำมาเสนอต่อคุณครูและเพื่อนในชั้นเรียน ผู้เรียนมีความสนใจ ให้ความร่วมมือ นำไปสู่การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ดี ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์โดยตรงจากการศึกษา
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สาระหน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่อง คนดีของชุมชน จำนวน ๓ แผนการจัดการเรียนรู้ ก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิจัยดังนี้ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () = ๑๕.๒๐ หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = ๒๔.๔๔ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนเรียน = ๒.๗๒๕ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หลังเรียน = ๒.๘๙๓ เมื่อนำไปทดสอบหาค่า t – test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕
ผลการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า การจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนจนเกิดความรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ดีและนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ ได้มีโอกาสร่วมกันแสดงความคิดเห็น ผู้เรียนได้เรียนรู้สถานการณ์จำลอง มีการลงปฏิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
Download |