หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระรณชัย ปโยคฺวิจิตฺโต (จันทร์หอม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๔ ครั้ง
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องความเป็นไทย รายวิชาหน้าที่พลเมือง ดยใช้การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระรณชัย ปโยคฺวิจิตฺโต (จันทร์หอม) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมชัย ศรีนอก
  นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ๑)  เพื่อศึกษากิจกรรมมารยาทไทยโดยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เรื่องความเป็นไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ๒)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์กิจกรรมวิชาหน้าที่พลเมือง เรื่องความเป็นไทย โดยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓  โรงเรียนวัดถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ก่อนเรียนและหลังเรียน ๓)  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๓ โรงเรียนวัดถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๔ แผน ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๑  เรื่อง ความเป็นไทย แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงมารยาทไทย แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาหน้าที่พลเมือง เรื่อง ความเป็นไทย และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมารยาทไทยโดยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบ t-test 

ผลการวิจัยพบว่า

๑.  พฤติกรรมการแสดงมารยาทไทยโดยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ของนักเรียนโยภาพรวม พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง

๒.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนมารยาทไทย
โดยการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ พบว่า
คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

๓.  ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนมารยาทไทยโดย
การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ
พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วย

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕