งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เรื่อง บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน ๑,๔๔๐ คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน ๒๔๙ ชุด มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ เรื่องบทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ ๑ – ๓ ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ เรื่องบทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ ๑ – ๓ ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ๓) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ เรื่องบทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ ๑ – ๓ ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
กกกกกกกกผลการวิจัยพบว่า
กก๑. ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ๑) ด้านการประเมินผลทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ๒) ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมการเรียนการสอนนักเรียน ๓) ด้านกิจกรรมในโรงเรียนที่จัดทำขึ้นในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ๔) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
๒. ผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ บทบาทของพระสอนศีลธรรมใน การจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จําแนกตาม สถานภาพส่วนบุคคล โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนที่มีเพศ อายุ ระดับชั้นการศึกษา และโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษา ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ณ ระดับ ๐.๐๕
๓. ข้อเสนอแนวทาง พบว่า ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษา รวมไปถึงการประยุกต์คุณธรรมจริยธรรมมาปรับแผนในวิชาอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับนักเรียน และนักเรียนได้เกิดความการเรียนรู้ค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน และจากการใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการสนุกไม่เบื่อหน่ายเกี่ยวกับการเรียนรู้และนำไปใช้ได้จริงและยังสามารถกระตุ้นนักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน การวัดและการประเมินผลมีความยุติธรรมเที่ยงตรง โดยการประเมินผลตามสภาพความเป็นจริงมีความสอดคล้องกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
Download |