การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนพิพิธสุตคุณานุสรณ์ ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ๒) เพื่อศึกษาศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนพิพิธสุตคุณานุสรณ์ ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๒๕ รูป โรงเรียนพิพิธสุตคุณานุสรณ์ ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ วิชา ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ สังคมและเศรษฐกิจสมัยอยุธยา จำนวน ๔ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๒๐ ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนพิพิธสุตคุณานุสรณ์ ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีแรงจูงใจ การสร้างแรงจูงใจทำได้โดยการมองสภาพของนักเรียนหลายคนได้มีโอกาสที่นักเรียนได้รับการศึกษา เป็นสาเหตุในการสร้างแรงจูงใจในการศึกษาคือการที่นักเรียนจะมีความสุขในการยกคุณภาพชีวิตในฐานะเป็นนักเรียนที่มีการศึกษา นักเรียนสามารถไปที่เว็บการศึกษาเช่นนี้ และเข้ากลุ่มกับผู้ที่มีความสนใจ โดยไม่จำเป็นต้องบังคับตนเอง
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนพิพิธสุตคุณานุสรณ์ ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ สังคมและเศรษฐกิจสมัยอยุธยา จำนวน ๔ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () = ๑๕.๖๕ และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = ๒๒.๔๑ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนเรียน = ๒.๖๘๔ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หลังเรียน = ๑.๕๕๔ และผลการทดสอบ T-Test ก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าทางสถิติที่ -๓๒.๗๕๐ แสดงว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
ผลการวิจัยโดยภาพรวม แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท ๔ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เป็น จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน ในการเตรียมเข้าสู่โลกอนาคต เช่น การเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการใช้สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง
Download
|