หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » มีชัย ภัทรเปรมเจริญ
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
สันตินวัตกรรมการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : มีชัย ภัทรเปรมเจริญ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “สันตินวัตกรรมการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม” มุ่งศึกษาวิเคราะห์กรณีปัญหามลพิษทางอากาศจากการฌาปนกิจ ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ ๓ ประการด้วยกัน คือ (๑) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาของการเกิดมลพิษจากการฌาปนกิจ ( ๒) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหามลพิษจาการฌาปนกิจด้วยหลักพุทธสันติวิธีของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร และ (๓) เพื่อนำเสนอสันตินวัตกรรมการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม กรณีการแก้ปัญหามลพิษจากการฌาปนกิจศพของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

      โดยผลงานวิจัยนี้ได้นำเสนอต้นเหตุปัญหาการเกิดมลพิษจากเตาเผาศพ และสังเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ มีจุดเด่นที่ทำให้เห็นถึงปัญหามลพิษที่มีสาเหตุมาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของการเผาศพ ข้อจำกัดของเตาเผาศพที่ไม่สามารถให้อุณหภูมิความร้อนที่สูงเพียงพอจะเผาไหม้ได้สมบูรณ์ หรือ เผาทำลายสารมลพิษที่เกิดขึ้น ตลอดจนบริบทสภาพปัญหาการจัดการฌาปนกิจของวัดที่ พระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ฌาปนกิจ (สัปเหร่อ) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหา แต่กบวนการแก้ไขปัญหาย่อมต้องอาศัยการมีร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งภายในวัดและนอกวัด เพื่อทำให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจัดการมลพิษจากการฌาปนกิจศพ จำเป็นต้องนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องในฐานะเครื่องมือในการพัฒนาการแก้ไขปัญหามลพิษ  และการเพิ่มองค์ความรู้เครื่องมือด้านสันติวิธี กระบวนการการมีส่วนร่วม ผลงานวิจัยนี้ครอบคลุมมิติในการพัฒนาวัดและชุมชน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรอบด้าน ทั้งในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และเชิงวิชาการ  องค์ความรู้ที่ได้เป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาวัด และชุมชนสันติสุขของหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังเกิดชุดองค์ความรู้ที่ถือว่าเป็นคู่มือที่สามารถนำพาวัดและชุมชนก้าวข้ามปัญหามลพิษจากการฌาปนกิจที่ส่งผลต่อสุขภาวะไปสู่การมีปัญญา หรือพลังสร้างสรรค์ให้วัดและชุมชนเกิดสันติสุข งานวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ประกอบด้วย ๑) ระยะวางแผน ๒) ระยะกระบวนการ ๓) ระยะติดตาม และ ๔) ระยะประเมินผล โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๔ ท่าน การทำสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  การจัดเวทีสาธารณะขยายผลความรู้สู่ชุมชน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการมลพิษจากการฌาปนกิจศพจำเป็นต้องนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องในฐานะเครื่องมือในการพัฒนาการแก้ไขปัญหามลพิษและสร้างการมีส่วนร่วม โดยกระบวนหลักในการขับเคลื่อนด้วยหลัก ๕ ส. (C-C-D-C-P)  ๑) สร้างการรับรู้ปัญหาร่วมกันให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง (C: Create recognition of pollution from cremation to stakeholder) ๒) สร้างจิตสำนึกให้เกิดแก่ผู้เกี่ยวข้องในวัดและขยายไปสู่คนทั่วไปในสังคม(C: Create  consciousness and accountability of  pollution from cremation) ๓) สร้างรูปแบบและวิธีการใช้สารวิมุตติลดมลภาวะจากการฌาปนกิจร่วมกัน(D: Design method and form of using GAIA (Wimutti) ๔) สร้างแนวทางป้องกันมลภาวะจากการฌาปนกิจอย่างยั่งยืนด้วยความร่วมมือ (C: Create coordination with Government section to educate monks and related people)  ๕) ส่งเสริมเผยแพร่และขยายผลการแก้ไขปัญหามลภาวะจากการฌาปนกิจสู่หมู่สงฆ์ (P: Publish and expand the results with participation to the Sangha) ผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำให้เกิด  ความคิดริเริ่มใหม่ (Innovation) ความมีส่วนร่วมของภาครัฐ (Government concerning) เกิดความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Educating)  การสร้างความตระหนักรู้แก่ทุกฝ่าย (Awareness) ด้วยการสื่อสารอย่างสันติ (Peaceful communication) และ การมีจิตสาธารณะ (Public mind) ผลที่เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่ปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม คือ IT-GE-APP ได้แก่ I: Innovation ความคิดริเริ่มใหม่ ทำสิ่งใหม่ ที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล สารวิมุตติ หรือสาร ไกอา (GAIA) T: Technology การประยุกต์นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติด้วยการจัดการสารพิษหรือสารไดออกซินและฟิวแรน G: Government concerning ความมีส่วนร่วมของภาครัฐ E: Educating การให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการฌาปนกิจในวัด ทั้งพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ฌาปนกิจ ญาติผู้วายชนม์ คนที่อยู่อาศัยในชุมชนใกล้วัด A: Awareness การสร้างความตระหนักรู้แก่ทุกฝ่าย รู้จักปัญหามลพิษจากการฌาปนกิจ และแนวทางในการป้องกันและแก้ไข P: Peaceful communication การสื่อสารอย่างสันติ เป็นวิธีการสร้างการยอมรับซึ่งกันและกันแก่ทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ลดความขัดแย้ง ทำให้กบวนการแก้ไขมีประสิทธิภาพ P: Public mind ความรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งปลูกจิตสำนึกให้คนรู้จักเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจ อย่างสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม ส่งผลให้สังคม ตื่นรู้ ตื่นตัว และทุกฝ่ายเบิกบานเร่งรีบแก้ปัญหาร่วมกัน สร้างสรรค์สังคมที่มีสุขภาวะดีและมีสันติสุขอย่างยั่งยืน

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕