หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » คชาภรณ์ คำสอนทา
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
รูปแบบการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทยตามหลักพุทธสันติวิธี (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : คชาภรณ์ คำสอนทา ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร)
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทย (๒) เพื่อศึกษาหลักการวิธีการระงับอธิกรณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและตามกฎหมายคณะสงฆ์ (๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทยตามหลัก       พุทธสันติวิธี ในการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๔ กลุ่มองค์กร จำนวน ๑๙ รูป/คน และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันรูปแบบ จำนวน  ๗ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาความ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๕๐๐ ชุด จากประชากร จำนวน ๙๘๐ รูปและใช้แบบสอบถามทำประชาพิจารณ์จำนวน ๒๒๑ ชุด วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติพรรณนาโวหาร

          ผลการวิจัยพบว่า ๑) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจด้านการบริหารงานการปกครอง    คณะสงฆ์ในข้อการจัดการปัญหาอธิกรณ์ข้อขัดแย้งของคณะสงฆ์ อยู่ในอันดับต่ำสุด ( =๓.๒๗,    S.D.=๐.๘๒๖) และด้านความรู้ความเข้าใจวิธีการและกระบวนการในการระงับอธิกรณ์ในข้อท่านได้ใช้วิธีการตามหลักกฎหมายคณะสงฆ์ระงับอธิกรณ์เพียงใด อยู่ในอันดับต่ำสุด ( =๓.๕๖, S.D.=๐.๗๑๔)       ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสังภาษณ์เชิงลึก ๒) หลักการวิธีการระงับอธิกรณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและตามกฎหมายคณะสงฆ์มีความสอดคล้องกันในตัวกระบวนการพิจารณาถึงจะแตกต่างกันบ้างในเรื่องของผู้ใช้อำนาจและตัวเครื่องมือการระงับอธิกรณ์ ๓) การนำเสนอรูปแบบการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทยตามหลักพุทธสันติวิธี พบองค์ความรู้การระงับอธิกรณ์    ด้วย Model Right (Right Dhamma - Right Vinaya - Right Stakeholders - Right Person - Right Process) เพื่อสังฆะสันติสุข เป็นรูปแบบการระงับอธิกรณ์ภายใต้  ๕ หลักการ ได้แก่          (๑) พร้อมด้วยธรรม (๒) พร้อมด้วยวินัย (๓) พร้อมหน้า (๔) พร้อมเพรียงแห่งสงฆ์  (๕) พร้อมของกระบวนการ  Right Dhamma คือ อธิกรณ์ระงับถูกต้องด้วยธรรม Right Vinaya คือ อธิกรณ์ระงับถูกต้องด้วยวินัย Right Stakeholders คือ วิธีการแห่งความพร้อมหน้า ประกอบด้วย          ๑) ต่อหน้าสงฆ์ ๒) ต่อหน้าบุคคล  ๓) ต่อหน้าวัตถุ ๔) ต่อหน้าธรรมวินัย Right Person คือ ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินระงับอธิกรณ์ต้องเป็นผู้ที่รู้จักตน รู้จักหน้าที่ รู้จักการทำหน้าที่           Right Process คือ การระงับอธิกรณ์ต้องดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนกระบวนการ ตั้งแต่การนำปัญหาเข้าสู่การสอบสวน การสอบสวนโดยผู้ปกครองสงฆ์ผู้มีอำนาจ  การฟ้องโดยผู้ปกครองสงฆ์       ผู้สอบสวน กระบวนการพิจารณาโดยคณะวินัยธรชั้นต้นและคณะวินัยธรชั้นฎีกา การบังคับโดยมาตรการทางสังคมและกฎหมาย

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕