การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ๒. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๘๓ สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งหลวง จำนวน ๓๘๑ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ ๓ กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๓.๕๑,S.D.=๐.๗๓๘) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินโครงการ ( =๓.๓๕,S.D.=๐.๘๘๗) ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์
( =๓.๖๖,S.D.=๐.๘๐๖) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ( =๓.๕๗,S.D.=๐.๗๗๘) และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( =๓.๔๔,S.D.=๐.๘๔๑) อยู่ในระดับมาก
๒. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยไม่แตกต่าง จึงปฏิเสฐสมมติฐานการวิจัย
๓. ปัญหาและอุปสรรค เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ๑) ประชาชนไม่ค่อยมีเวลาในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทุกฝ่ายไม่ค่อยได้พูดจาตกลงกันเท่าที่ควร ๒) เทศบาลไม่มีรถเก็บขยะและไม่มีสถานที่ทิ้งขยะ ๓) แยกขยะเพื่อนำไปแต่ได้ราคาที่ไม่เป็นธรรม ๔) เนื่องจากเทศบาลยังไม่มีรถเก็บขยะและการคัดแยกที่เป็นระบบ จึงไม่สามารถให้รายละเอียดที่ชัดเจนได้ ส่วนอุปกรณ์ถังแยกขยะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ๑) การรณรงค์และประชาสัมพันธ์จะต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะกระตุ้นให้ประชาชนสนใจรับทราบและปฏิบัติตาม ๒) รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเรื่องการลดปริมาณขยะด้วยการคัดแยกประเภทขยะจากแหล่งกำเนิดนำขยะบางส่วนกลับมาใช้ใหม่และการนำขยะเปียกมาใช้ทำปุ๋ยหมัก ๓) จัดหาพ่อค้าคนกลางมาซื้อขยะที่แยกในราคาที่เหมาะสม ๔) ให้ประชาชนมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินผลในการดำเนินการจัดการขยะของเทศบาล
Download |