การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุกับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ๔. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะผู้สูงอายุเกี่ยวกับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๙๓ สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลหลุมข้าว จำนวน ๓๒๒ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๒ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๑๘, S.D. = ๐.๔๙๖) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านระบบการจัดการที่ทันสมัย อยู่ในระดับมากทุกข้อคือ ( = ๔.๑๘, S.D. = ๐.๔๙๒) ด้านผู้สูงอายุได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากรัฐและชุมชน ( = ๔.๑๗, S.D. = ๐.๕๒๑) ด้านผู้สูงอายุและประชามีความพึงพอใจ ( = ๔.๒๓, S.D. = ๐.๔๑๗) ด้านสถานที่รองรับผู้สูงอายุ ( = ๔.๑๖, S.D. = ๐.๕๒๙)
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล พบว่า ผู้สูงอายุที่มี อายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนผู้สูงอายุที่มี เพศ การศึกษา และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุกับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (R=๐.๙๔๐)
๔. ปัญหา อุปสรรค การจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา คือ ๑) ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ช้า ๒) ขาดงบประมาณสำหรับดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี และให้อยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ๓) ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแล ต้องอาศัยสถานสงเคราะห์คนชรา ในอนาคต สังคมไทยอาจกลายเป็นสังคมตะวันตกคือ ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่มีการทดแทนบุญคุณ บุตรหลานโตขึ้นก็จะไม่เลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อแก่ชรา ๔) ผู้สูงอายุขาดการดูแลที่อยู่อาศัยให้สะอาด ถูกหลักอนามัย ข้อเสนอแนะคือ ๑) ควรส่งเสริมและสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมศักยภาพแก่กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ จัดอบรมให้ความรู้ต่างๆ ๒) ควรพัฒนาบทบาทของคนในครอบครัวและคนในชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ๓) ควรให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูงอายุ เช่น บุตรหลาน ญาติหรือเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องในสังคม ต้องให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแกผู้สูงอายุโดยการให้ข้อมูลเรื่องวิธีการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ให้คำแนะนำเรื่องปัญหาสุขภาพ หรือวิธีการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง ๔) ภาครัฐควรให้การสนับสนุนด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและ ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
Download |