การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมหลักเบญจศีลและเบญจธรรม ในพระพุทธศาสนาเถรวาท, ศึกษาความแตกต่างของ ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยจิตสังคม ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์พฤติกรรมทางหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และเสนอปัญหาและอุปสรรคศึกษาความสัมพันธ์พฤติกรรมทางหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน ๓๒๔ คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง, ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับค่อนข้างสูง, ระดับความสัมพันธ์ในครอบครัว ของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับค่อนข้างสูง,ระดับความสัมพันธ์ครูกับนักเรียน ของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง,และระดับความสัมพันธ์พฤติกรรมทางหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับค่อนข้างสูง
พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมทางหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ระดับชั้นกับพฤติกรรมทางหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันเชิงบวกในระดับปานกลาง, ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตกับพฤติกรรมทางหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ความเชื่อมั่นในตนเองกับพฤติกรรมทางหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันเชิงบวกในระดับต่ำ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมกับพฤติกรรมทางหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ความสัมพันธ์ครูกับนักเรียนกับพฤติกรรมทางหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันเชิงบวกในระดับต่ำ
Download |