หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ขจิตต์นิษฐา สรรพสิริมงคล
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๔ ครั้ง
การเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนดนตรีด้วยกิจกรรมตามแนวพุทธ จิตวิทยา : กรณีศึกษานักเรียนศูนย์ดนตรีดุริยะมิวสิค จังหวัดเพชรบุรี (สาขาวิชาชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : ขจิตต์นิษฐา สรรพสิริมงคล ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  การเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนดนตรีด้วยกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยา : กรณีศึกษานักเรียน   ศูนย์ดนตรีดุริยะมิวสิค  จังหวัดเพชรบุรี”      เด็กแต่ละคนเกิดมาท่ามกลางความคาดหวังที่แตกต่างกัน  กล่าวคือ   ครอบครัวที่ประกอบไปด้วย  บิดา  มารดา  ญาติ

เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเรียน เด็ก ๆ จะต้องเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น สมาธิในการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญ  ถ้าเด็กมีสมาธิก็ส่งผลดีต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้นตามไปด้วย  สมาธิก็คือความสามารถในการเลือกเฟ้นสิ่งกระตุ้นที่มีความสำคัญ ร่วมกับความสามารถที่จะคงความสนใจกับสิ่งนั้นได้นานพอ  หมายถึง  ขณะที่มีการกระตุ้นจากหลาย ๆ สิ่ง เช่น เสียงรถ เสียงครู หรือเสียงเพื่อน เด็กจะต้องเลือกว่าจะสนใจสิ่งไหน และเมื่อสนใจแล้วจะต้องคงความสนใจกับสิ่งนั้นได้ในระยะเวลาที่นานพอ สมาธิเป็นเรื่องของความสามารถทางสมอง ซึ่งเด็กแต่ละคนมีไม่เท่ากัน ในเด็กเล็กจะมีน้อยกว่าเด็กโต แต่จะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย  ๆ เมื่อโตขึ้น

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้  คือ  นักเรียนศูนย์ดนตรีดุริยะมิวสิค  จังหวัดเพชรบุรี  สาขาดนตรีสากล   ทั้งหมด  ๒๐  คน  ช่วงอายุระหว่าง  ๗ -  ๑๕  ปี   ได้มาจากตารางของเครซี่ & มอร์แกน  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ  .๐๕  และทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random  กลุ่มหนึ่ง ใช้กิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนดนตรีของนักเรียน   กลุ่มสอง ไม่ใช้กิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนดนตรีของนักเรียน  นักเรียนฝึกอาทิตย์ละ ๑ ครั้งๆ ละ ๑๐ – ๑๕ นาที จำนวน ๑ วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา ๔  สัปดาห์   

 

 

 

          ผลการศึกษาพบว่าแรงจูงใจในการเรียนดนตรีด้วยกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยา หลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มด้วยหลักอิทธิบาท ๔  มีคะแนนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม   ทั้ง    หัวข้อ คือ  ก่อนทำกิจกรรมมีระดับฉันทะ ๓.๓๓  หลังทำกิจกรรม ๔.๗๖  ก่อนทำกิจกรรมมีระดับวิริยะ ๓.๓๓ หลังทำกิจกรรม  ๔.๗๖  ก่อนทำกิจกรรมมีระดับจิตตะ ๓.๓๓ หลังทำกิจกรรมมีระดับจิตตะ  ๔.๗๖  ก่อนทำกิจกรรมมีระดับวิมังสา ๓.๓๓ หลังทำกิจกรรม  ๔.๗๖

          วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พบว่าก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มด้วยหลักอิทธิบาท ๔ เพื่อการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนดนตรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๐ ไม่ว่าจะเป็นจากการสังเกตของผู้วิจัย ครูผู้สอนหลักครูผู้สอนสมทบและผู้ปกครอง  หรือการสังเกตโดยรวมก็ตาม สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย

          ๑. ได้กิจกรรมกลุ่มด้วยหลักอิทธิบาท ๔ เพื่อพัฒนาการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนดนตรีด้วยกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยา

          ๒.  หลังเข้าร่วมกิจกรรมการใช้กิจกรรมกลุ่มด้วยหลักอิทธิบาท ๔ เพื่อการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนดนตรีด้วยกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยา  นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนดนตรีดีขึ้น  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ   .๐๑

          โดยสรุป กิจกรรมกลุ่มมีผลต่อการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนดนตรีของนักเรียน   ทำให้นักเรียนมีความพอใจในตนเอง รู้จักตนเอง  มีความอุตสาหะ  มีสมาธิและรู้จักการวางแผนเพิ่มมากขึ้น

 Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕