การศึกษาวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ในการส่งเสริมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ด้านสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ ของ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ ด้านสาธารณสงเคราะห์ของอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๑๙ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในอำเภอแก้งคร้อ จำนวน ๒๑๒ รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๑๐
รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
๑. พระสงฆ์ในพื้นที่อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีความคิดเห็นต่อระดับการส่งเสริมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ ของอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๓.๙๒,S.D.=๐.๓๙๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น( =๓.๙๔,S.D.=๐.๖๙๖) ด้านการพัฒนาจิตใจประชาชน ( =๓.๙๓,S.D.
=๐.๔๘๗) การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ( =๓.๙๐,S.D.=๐.๕๑๓)
๒. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ ของอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีพรรษา วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม วุฒิการศึกษานักธรรม ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ ของอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธข้อสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ ส่วนพระสงฆ์ที่มีอายุ วุฒิการศึกษาสามัญ และตำแหน่งทางคณะสงฆ์ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ ของอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ดังนั้น จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
๓. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ ของอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ๑. ด้านพัฒนาจิตใจประชาชน ขาดการจัดนิทรรศการหรือพิพิธภัณฑ์ธรรมสังเวชภายในวัด ๒. ด้านพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น คณะสงฆ์ไม่มีบทบาทในการสนับสนุนประชาชนให้ดำรงชีพตามวิถีเกษตรพอเพียง ๓. ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านในการประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้น ข้อเสนอแนะ คือ คณะสงฆ์สนับสนุนให้ทุกวัดจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมสังเวช ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา มีการจัดโครงการต่างๆที่เป็นการช่วยเหลือผู้ยากจน ด้อยโอกาส มีการจัดตั้งกองทุนไถ่ชีวิตโค-กระบือเพื่อสนับสนุนวิถีเกษตรพอเพียง พัฒนาบุคลากรให้เป็นแกนนำด้านจิตอาสา สนับสนุนการทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย สร้างเครือข่ายการสืบสานประเพณีท้องถิ่นโดยคนรุ่นใหม่ คณะสงฆ์ต้องส่งเสริมให้ประชาชนทำวัตร-สวดมนต์ในครัวเรือนเป็นประจำทุกวัน สนับสนุนการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหายพร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการสืบสานประเพณีท้องถิ่นโดยคนรุ่นใหม่ การส่งเสริมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ ของอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ จึงจะประสบผลสำเร็จ
Download
|