หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสังฆรักษ์สมบัติ ธมฺมทินฺโน (สมดี)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสังฆรักษ์สมบัติ ธมฺมทินฺโน (สมดี) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีวีรบัณฑิต
  ประเสริฐ ธิลาว
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒. เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ในพื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากรจำนวน ๑๙๕ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๗๐ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าเอฟและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด การวิจัยเชิงคุณภาพกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก  ๑๐ รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง เครื่องมือเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้ง ๘ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก .๙๖ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ทั้ง ๘ ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านกตัญญูกตเวทิตาธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๑ มากที่สุด รองลงมาด้านส่งเสริมอาชีพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๐ รองลงมาด้านสันติสุข มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๙ รองลงมาด้านวัฒนธรรมศีลธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๘ รองลงมาด้านสาธารณสงเคราะห์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๖ รองลงมาด้านศึกษาสงเคราะห์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๒ รองลงมาด้านความสามัคคี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ          ๓.๙๑ และน้อยที่สุดด้านสุขภาพอนามัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๑ ตามลำดับ

๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ, อายุพรรษา, วุฒิการศึกษานักธรรม, วุฒิการศึกษาบาลี, และวุฒิการศึกษาสามัญ พบว่า ไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

๓. ปัญหา อุปสรรค ต่อการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านความสามัคคี ในการจัดกิจกรรมในชุมชนขาดความร่วมมือกันเท่าที่ควร ด้านสุขภาพอนามัย ไม่มีหน่วยบริการของ รพ.สต.ออกให้บริการตามบ้าน ด้านวัฒนธรรมศีลธรรม ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านศีลธรรม ด้านการส่งเสริมอาชีพ ไม่มีการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างจริงจัง ด้านสันติสุข ยังมีการทะเลาะกันภายในชุมชนเอาความคิดตนเองเป็นใหญ่ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ เด็กและเยาวชนบางส่วนขาดทุนทรัพย์ในการเล่าเรียน ด้านสาธารณสงเคราะห์ ขาดการการสนับสนุนช่วยเหลือกันเท่าที่ควร ด้านกตัญญูกตเวทิตาธรรม ขาดการเคารพจากลูกหลาน พ่อแม่ไม่มีเวลาให้การอบรมสั่งสอน ดังนั้นข้อเสนอแนะควรมีการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด การบริการสาธารณะให้กับประชาชนโดยทั่วไป และต้องเป็นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้กับประชาชนโดยทั่วไปถึงความรุนแรงว่ามันไม่ดีอย่างไรและผลกระทบข้างเคียงจะเป็นเช่นไร ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิดและประเพณีต่าง ๆ ให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมประชาชน เยาวชน ได้เข้าวัดและเห็นเรียบร้อย ความสะอาด เป็นที่น่าประทับใจ ในการเข้าวัดฟังเทศน์ ฟังธรรมโดยอาจจะจัดอาทิตย์ละ ๑ ครั้ง เพื่อให้รับรู้หลักธรรมคำสอน

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕