การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาความพึงพอใจในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี (๒) ศึกษาศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในการบริหารจัดการ โรงเรียน การกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และ(๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในความพึงพอใจในการบริหารจัดการ โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จำนวน ๑๘๘ คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๘ คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ความพึงพอใจในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๔ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๘ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการบริหารงานงบประมาณ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๑
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นมีต่อความพึงพอใจในการบริหาร จัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีโดยจำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และอาชีพ พบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้านซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหาและอุปสรรคต่อความพึงพอใจในการบริหารจัดการ โรงเรียนการกุศลของวัด ในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบว่า การประสานงานในการทำงานที่ซ้ำซ้อน ไม่มีเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหรือหมุนเวียนในโรงเรียน ให้อำนาจสิทธิขาดแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนานเกินไป ไม่สามารถเลือกนักเรียนได้ ความรู้ในด้านการใช้สื่อประกอบในการเรียนการสอนยังมีน้อย ขาดงบประมาณในการจัดหาจัดทำสื่อที่ทันสมัย เงินที่ได้จากรัฐไม่เพียงพอตามรายหัวและผู้บริจาค การจัดตั้งกองทุนการศึกษาและมอบทุนให้นักเรียนอยู่ในส่วนจำกัด การลาออกของครูในช่วงภาคการศึกษาหรือปีการศึกษาซึ่งทำให้โรงเรียนหาบุคลากรไม่ทัน การประสานงานในส่วนราชการกับส่วนภูมิภาคเกิดข้อผิดพลาดบ่อยมีความเข้าใจไม่ตรงกันและข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัด ในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวกพบว่า จัดการอบรมเพิ่มเติมความรู้ ส่งเสริมให้ครู มีการศึกษาต่อ เพื่อให้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้นจัดทำสื่อเพิ่มแล้วนำมาทดลองก่อนใช้งานจริง พัฒนาโดยตั้งกองทุนหรือมูลนิธิขึ้นในโรงเรียน สร้างแรงจูงใจให้กับผู้มาทำหน้าที่ในการสอน และมีค่าตอบแทนให้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงาน
Download
|