การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของผู้เกษียณอายุราชการในบริบทสังคมปัจจุบัน ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของผู้เกษียณอายุราชการและ ๓) เพื่อวิเคราะห์การบูรณาการหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ และเสนอแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้เกษียณอายุราชการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสาร และทำการสัมภาษณ์ผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน ๑๐ ท่าน รวมทั้งใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลผู้เกษียณอายุราชการอีก จำนวน ๑๐๒ ท่าน ผลการศึกษาพบว่า
๑) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลต่อผู้เกษียณอายุราชการ ได้แก่ การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรม อิทธิพลของสื่อและเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว และทัศนคติทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อผู้สูงอายุในสังคมไทย
๒) หลักพุทธธรรมที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ ได้แก่ เบญจศีล ความสันโดษ อริยสัจ ๔ พรหมวิหาร ๔ โลกธรรม ๘ และ ไตรลักษณ์
๓) เมื่อนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการในการดำเนินชีวิตของผู้เกษียณอายุราชการ พบว่า ผู้เกษียณอายุราชการได้นำหลักพุทธธรรมาใช้จริง ค่าเฉลี่ยในระดับมากทุกรายการ โดยเฉพาะ การปฏิบัติตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ และมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ปัจจุบันมากที่สุด ส่วนแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้เกษียณอายุราชการ ได้แก่ Do not LEAVE model กล่าว คือ เมื่อเกษียณอายุแล้ว ต้องอย่าละทิ้ง ๕ ข้อคือ L = Let oneself on อย่าละทิ้งการปล่อยวาง ต้องปล่อยวาง อย่ายึดติดลาภยศสรรเสริญ E = Excellent healthอย่าละทิ้งการมีสุขภาพที่ดีต้องออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ A = Activities อย่าละทิ้งการมีกิจกรรม ต้องมีกิจกรรม มีสังคม เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในจิตใจV=Virtueอย่าละทิ้งการมีศีลมีธรรม ในบั้นปลายควรหาโอกาสศึกษาธรรมะ และ E = Economical life อย่าละทิ้งชีวิตที่พอเพียง ควรอยู่โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
Download |