หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภาวิณี ภาพันธ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
กระบวนการสร้างคุณค่า และความหมายใหม่ของบุคคลต้นแบบ ในการดำเนินชีวิตเชิงพุทธ
ชื่อผู้วิจัย : ภาวิณี ภาพันธ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
  พูนชัย ปันธิยะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยคุณค่าและความหมายใหม่ในการดำเนินชีวิต ๒. เพื่อศึกษาประวัติและผลงานบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตเชิงพุทธ ๓. เพื่อวิเคราะห์การสร้างคุณค่า และความหมายใหม่ของบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตเชิงพุทธ

 

ผลการวิจัยพบว่า ๑. กระบวนการสร้างคุณค่า และความหมายเกิดจากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ส่งผลต่อความคิด ทัศนะคติ ความเชื่อ ค่านิยม นำไปสู่การคิดใหม่จากฐานความคิดเดิม   ด้วยการลงมือปฏิบัติหรือประสบพบเจอด้วยตนเอง ตรงกับทฤษฏีและแนวปฏิบัติการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ตามแนวคิดของ Jack Mezirow สังเกตได้ว่าจากการประสบภาวะของบุคคลต้นแบบทั้ง ๓ ท่านได้ตรวจสอบหรือพิจารณาความรู้สึกต่าง ๆ ของตนเองผ่านความรู้สึก กลัว โกรธ ความรู้สึกผิด และความอับอายความไม่สบายเป็นต้น Jack Mezirow นำเสนอว่าความเชื่อมุมมองกรอบอ้างอิงหรือสันนิษฐานในสิ่งต่าง ๆ ของบุคคลสามารถสร้างความรู้สึกต่าง ๆ นำพาตนให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่การเรียนรู้เกิดเป็นความหมาย

 

. จากการศึกษาประวัติของบุคคลต้นแบบพบว่าปัจจัยแวดล้อมภายนอกของบุคคลต้นแบบถึงแม้จะมีความแตกต่างกันทั้งช่วงอายุ ประสบการชีวิต การศึกษา ถิ่นกำเนิด อิทธิพลทางสังคม ศาสนา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการเรียนรู้ และการพัฒนาภายในจิตใจของแต่ละคนจะต้องแตกต่างกันตามปัจจัยแวดล้อมภายนอก กล่าวคือกระบวนการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงขณะของชีวิตและต่างล้วนขึ้นอยู่ที่จิตใจเป็นสำคัญ (Interview) เนื่องจากจิตใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเริ่มต้นที่จะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองจนเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดจากความรู้สึก (See – Feel – Change) จากประสบการณ์ชีวิตของแต่ละท่าน

 

. การนำพาตนให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงของบุคคลต้นแบบนั้นอาศัยพื้นฐานของหลักธรรมประกอบกับการมีความศรัทธาหรือความเชื่อเป็นจุดเริ่มแห่งศรัทธาด้วยสัมมาทิฏฐิตามหลักเริ่มต้นของมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกตรงตามหลักอริยสัจ ๔ ทั้งนี้การลงมือปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดความหมายใหม่ขึ้นได้ด้วยตัวของเราเอง นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงความหมายไปในทิศทางที่ดี

กล่าวโดยสรุป การเรียนรู้เพื่อหาคำตอบให้กับชีวิตเพื่อค้นหาความหมายก่อเกิดเป็นความรู้สึกที่เชื่อมโยงระหว่างสรรพสิ่งโดยการดำรงอยู่บนพื้นฐานของกรรมดีจะทำให้ชีวิตนี้มีความหมายหมดความติดข้องสงสัยในการมีชีวิตอยู่ทั้งความคิดและจิตวิญญาณ เพื่อก้าวไปสู่ความหมายแห่งความพ้นทุกข์เป็นที่สุด การดำรงอยู่ของแต่ละคนนั้นไม่จำเป็นต้องแสวงหาความหมายของชีวิตในแบบผู้อื่นแต่ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง กล่าวคือเราต้องทำหน้าที่แต่ละขั้นของชีวิตให้ดีการเรียนรู้ในแต่ละขั้นอย่างมีคุณค่าก่อให้เกิดเป็นความหมายไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕