หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ผจงศิริ อุดมสินกุล
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
พุทธบูรณาการแนวทางการกำหนดรู้เวทนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชื่อผู้วิจัย : ผจงศิริ อุดมสินกุล ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประพันธ์ ศุภษร
  พระโสภณพัฒนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาเวทนาของผู้ป่วยโรคมะเร็งในทางการแพทย์ (๒) เพื่อศึกษาการกำหนดรู้เวทนาในพระพุทธศาสนา (๓) เพื่อศึกษาพุทธบูรณาการแนวทางการกำหนดรู้เวทนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาทั้งภาคเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า

เวทนาของผู้ป่วยโรคมะเร็งในทางการแพทย์ ผู้ป่วยบางรายจะมีความรู้สึกเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ชนิดของโรค ระดับความรุนแรง ตำแหน่งของความเจ็บปวด และขึ้นกับขีดความอดทนต่อความเจ็บปวดของผู้ป่วยแต่ละคน สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดรุนแรงทางกาย คือ การลุกลามของมะเร็ง ส่วนทางจิตใจที่ทำให้ผู้ป่วยทนต่อความปวดจากโรคมะเร็งลดลง เกิดจากจิตใจที่เศร้าหมอง ภาวะซึมเศร้าวิตกกังวล ซึ่งแพทย์จะประเมินระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยจากการซักประวัติประกอบกับการใช้แบบประเมินความปวด การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การถ่ายภาพรังสี เพื่อนำไปสู่วิธีจัดการความปวดอย่างเหมาะสม

             การกำหนดรู้เวทนาในพระพุทธศาสนามี ๓ ประการคือการกำหนดรู้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อุเบกขาเวทนา หลักปฏิบัติที่เกื้อหนุนต่อการจัดการความเจ็บปวด ได้แก่ สติ ความไม่ประมาท สมาธิ การไม่ยึดมั่นถือมั่น ขันติ ไตรลักษณ์ การกำหนดรู้เวทนานอกจากจะเป็นเครื่องมือเพื่ออาศัยระงับความปวดแล้วยังเป็นเครื่องมือไปสู่บันไดที่สูงได้คือการบรรลุธรรมอีกด้วย

พุทธบูรณาการแนวทางการกำหนดรู้เวทนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็งคือการผสมผสาน ๓ ส่วนคือพระพุทธศาสนา ผู้ป่วย และการแพทย์ เสนอแนะเป็น ๔ ขั้นตอน จัดทำเป็นโมเดล P A C R คือ ๑)  P ย่อมาจาก PERCEPT คือผู้ป่วยต้องเรียนรู้และเข้าใจตนเอง P ทางการแพทย์ คือ PAIN MANAGEMENT การจัดการความปวด ๒) A ย่อมาจาก ACCEPT คือผู้ป่วยต้องยอมรับและปรับตัว A ทางการแพทย์ คือ ACTION ปฏิบัติการวินิจฉัยของแพทย์ ๓) C ย่อมาจาก CONSCIOUS คือผู้ป่วยต้องมีสติ C ทางการแพทย์ คือ CURE การรักษา ๔) R ย่อมาจาก RELEASE คือผู้ป่วยต้องปล่อยวาง R ในทางการแพทย์ คือ RECOVERY การฟื้นฟูผู้ป่วย พุทธบูรณาการแนวทางการกำหนดรู้เวทนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคมะเร็งในงานวิจัยนี้ จะทำให้เกิดการพัฒนาด้านการแพทย์ที่กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม อันจะก้าวหน้าเป็นประโยชน์ต่อการสาธารณสุข

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕