งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทั่วไปในการจัดการเรียนสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านตูม ตำบลบ้านจันทน์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และ ๓) เพื่อศึกษาผลการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านตูม ตำบลบ้านจันทน์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า อิทธิบาท ๔ หมายถึง หลักธรรมนำไปสู่ ความสำเร็จ คือ ฉันทะ ความพอใจ, มีใจรักในงานที่ทำ ด้วยใจรัก วิริยะ ความพากเพียร อดทน ต่อความลำบากบากบั่น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดๆ ก็ตามขอให้ทำอย่างสุจริต จิตตะ เอาจิต ฝักใฝ่ ฝ่ายใจรัก ด้วยความพยายาม ด้วยเอาจิตพยายามอาชีพนั้นๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวนในงานที่ทำ เพื่อจะให้ประสบผลสำเร็จให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
กระบวนการใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการจัดการเรียนการสอนช่วยแก้ไขข้อจำกัดในเรื่องเนื้อหาทางด้านจริยธรรม ซึ่งค่อนข้างเป็นนามธรรมและหยุดนิ่งกับที่ให้เป็นการเรียนการสอนที่น่าสนใจโดยสร้างบรรยากาศของการเรียนการสอนที่มีการที่มีการเคลื่อนไหวของผู้เรียนและเนื้อหาควบคู่กันไปการจัดกระบวนการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ และการปฏิสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ โดยมีการใช้กิจกรรมและสื่อการสอนบางประการ เช่น สถานการณ์จำลอง การแสดงบทบาทสมมติ กรณีตัวอย่าง เป็นต้น ช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้ทางด้านจริยธรรมเป็นรูปธรรมน่าสนใจขึ้นสอดคล้องกับวัยพัฒนาตนระดับวุฒิภาวะ และความต้องการของนักเรียนแต่ละระดับ หลักอิทธิบาท ๔ ว่าด้วยการครองตน ครองคนและครองงาน เป็นคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย
ผลการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ เพื่อเสริมทักษะในการจัดการเรียนการสอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านตูม ตำบลบ้านจันทน์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี พบว่า ๑) ฉันทะ คือเป็นข้าศึกกับความเบื่อหน่าย ทำให้ไม่เบื่องาน ไม่ท้อถอย มีกำลังใจต่อสู้ป้องกันสร้างสรรค์สิ่งที่ตนรัก ๒) วิริยะ คือ กำจัดความเกียจคร้าน ทำให้งานต่อเนื่อง เช่น นักเรียนมีงานที่ครูผู้สอนสั่งการบ้านแล้วส่งให้ครบตามจำนวน นักเรียนไม่เกียจคร้านต่อหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์ ๓) จิตตะ คือ ทำให้ทราบความเป็นไปของงานอยู่เสมอ เมื่อมีปัญญาสามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ๔) วิมังสา คือ ช่วยให้ทำงานไม่ผิดพลาด และทำให้มองเห็นลู่ทางที่จะทำงานให้ได้ผลดีจะเห็นได้ว่า ฉันทะ และวิริยะ เป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี โดยมีจิตตะและวิมังสาเป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยให้การเอาชนะปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้วก็จะช่วยเสริมให้บุคคลมีความสมารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรคมากขึ้นนั่นเอง เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมทั้งความคิดเห็นและการกระทำภายในสถานการณ์ที่กำหนด ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีการวางแผนการทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแก้ปัญหาร่วมกัน เกิดการเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Download |