วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าเชิงพุทธ ๒) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์ป่าของพระสงฆ์วัดป่าพระบาทภูเขาควาย อำเภอทุระคม นครหลวงเวียงจันทน์ ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ป่าวัดป่าพระบาทภูเขาควาย อำเภอทุระคม จังหวัดเวียงจันทน์ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการศึกษาข้อมูลภาคสนาม เกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ป่า
ผลการวิจัยพบว่า
การอนุรักษ์ป่าเชิงพุทธ หมายถึง กระบวนการอนุรักษ์ป่าตามแนวทางของพระพุทธศาสนา ในพระพุทธศาสนาได้มีพุทธบัญญัติซึ่งเป็นพุทธพจน์ที่ทรงตรัสถึงการปกป้อง การอนุรักษ์ป่า และการฟื้นฟูป่า สะท้อนให้เห็นแนวคิดของพระพุทธศาสนาที่ให้ความสำคัญกับป่า โดยเฉพาะพุทธบัญญัติที่มีลักษณะเป็นข้อความในการอนุรักษ์พันธุ์พืช วิธีการอนุรักษ์ป่าเชิงพุทธ ในความสัมพันธ์เชิงเอื้ออาทรต่อกันที่ปรากฏในพยัคฆชาดก ทาให้เกิดแนวร่วมในการดูแลรักษาป่าและระบบนิเวศไม่ให้ถูกมนุษย์คุมคามทั้งทางตรงและทางอ้อม การพึ่งพาแบบได้ประโยชน์คนละส่วนทำให้เกิดพลังในการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ในพระพุทธศาสนาได้มีพุทธบัญญัติซึ่งเป็นพุทธพจน์ที่ทรงตรัสถึงการปกป้อง การอนุรักษ์ป่า และการฟื้นฟูป่า สะท้อนให้เห็นแนวคิดของพระพุทธศาสนาที่ให้ความสำคัญกับป่า โดยเฉพาะพุทธบัญญัติที่มีลักษณะการอนุรักษ์พันธุ์พืช คือ พุทธบัญญัติห้ามตัดต้นไม้ ในสิกขาบทที่ ๑ ภูตคามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์
หลักการอนุรักษ์ป่าของพระสงฆ์วัดดอนธาตุยึดหลักการที่ว่า “ป่าเป็นวัด” โดยยึดตามหลักไตรสิกขาและศีล ๕ วิธีการอนุรักษ์ป่าของพระสงฆ์วัดดอนธาตุทั้งในระยะสั้นและระยาว ทางวัดจึงมีการแก้ไขปัญหา ดังนี้ ปลูกต้นไผ่เพื่อกันตลิ่งพัง ปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดินและการพังทลายของดินริมตลิ่งจัดหาเครื่องสูบน้าจากลาแม่น้ำขึ้นมารดพืชพันธ์ที่แห้งเหี่ยวภายในเขตวัด เดินท่อน้ำกระจายไปตามพื้นที่ทั่วบริเวณของแนวป่า แล้วทำการสูบน้ำจากลาแม่น้ำขึ้นมารดพื้นดิน เพื่อให้ต้นไม้เกิดความชุ่มชื้นและช่วยลดปัญหาต้นไม้ยืนต้นตาย กระบวนการอนุรักษ์ป่าของวัดป่าพระบาทภูเขาควาย คือปลูกต้นไผ่เพื่อกันตลิ่งพัง ปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดิน ปูอิฐตัวหนอนเพื่อรักษาหน้าดินรากของต้นไม้ กำหนดเขตวัดเป็นเขตอภัยทาน โดยมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า คือ วัดและชุมชน
พระสงฆ์วัดป่าพระบาทภูเขาควายได้ประยุกต์หลักไตรสิกขามาใช้ในการอนุรักษ์ป่า คือ ศีล ในเบื้องต้นมีการควบคุมความประพฤติด้วยการสร้างวินัยให้กับตนเอง สมาธิ เป็นการฝึกอบรมด้านจิตใจ ให้มีจิตสานึกที่ดี และมีจิตสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปัญญา เป็นการฝึกเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และหวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศีล ๕ คือ ความประพฤติชอบทางกายและวาจา ข้อที่ ๑ ช่วยเอื้อในการไม่ทำลายธรรมชาติ ข้อที่ ๒ ช่วยห้ามในการลักลอบทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ข้อที่ ๓ ช่วยห้ามแทรกแซงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ ข้อที่ ๔ ช่วยเอื้อในการรักษากฎเกณฑ์ ข้อที่ ๕ ช่วยไม่ให้ทาลายสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดมลภาวะหรือปัญหาต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม