การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ ๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงพุทธ ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงพุทธของวัดพระธาตุหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงพุทธของวัดพระธาตุหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เพื่อศึกษาสภาพการจัดการแหล่งเรียนรู้ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาความ คิดเห็นของพระสงฆ์และนักท่องเที่ยวที่มีต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า
การศึกษาความเป็นมาของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงพุทธ ๑. ด้านพุทธศิลปะสถาปัตยกรรมเหมาะสมกับเป็นแหล่งเรียนรู้ ในอดีตวัดเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะวิทยาคารที่ชาวบ้านจากชุมชนรอบๆ วัดหรือแม้จากสถานที่ห่างไกลได้เดินทางเข้ามาเพื่อศึกษาวิทยาการแขนงต่างๆ และรับการสั่งสอนอบรมทางด้านจิตใจ โดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็นครูสอนแต่ในปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อการศึกษาของประเทศได้พัฒนาเจริญมากขึ้น และการศึกษาได้แยกตัวออกจากวัด โดยตั้งเป็นสถานศึกษาเป็นเอกเทศ และครูผู้สอนก็มิได้เป็นพระสงฆ์ ดังนั้นเด็กลาวในยุคปัจจุบัน จึงมิได้มีความใกล้ชิดกับวัด 2.ด้านความสะดวกสบายในการท่องเที่ยววัด ในวัดมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การเดินทาง ศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว ห้องน้ำ ลานจอดรถ ร้านค้ากาแฟ และเครื่องดื่ม รวมทั้งร้านอาหารคอยให้บริการ นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวที่วัดพระธาตุหลวงในปัจจุบันได้มีการพัฒนาขึ้นไปตามาลำดับที่อำนวยความสะดวกจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว 3.ด้านแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสารประโยชน์ วัดในพระพุทธศาสนายังมีความสำคัญสำหรับชาติไทยในฐานะเป็นแหล่งศึกษาพระธรรม โดยมีพระสงฆ์เป็นที่พึ่งทางใจในยามมีทุกข์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยเหตุที่วัดยังคงมีความสำคัญทั้งต่อคนไทยในฐานะเป็นที่พึ่งทางใจ และต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมดังกล่าวแล้ว วัดจึงควรได้รับการดูแลรักษาให้มีความสะอาด และปราศจากภัยสังคมจากกลุ่มบุคคลที่เข้ามาอาศัยวัด และก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้คนที่เข้าวัดเพื่อแสวงหาความสงบ
สภาพปัจจุบันและปัญหาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงพุทธของวัดพระธาตุหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว การศึกษาข้อมูลวัดพระธาตุหลวงนครหลวงเวียงจันทน์ประเทศลาวนั้น ทำให้ทราบความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัยซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างระบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศได้เป็นอย่างดี และประชาชนในประเทศก็จะได้ศึกษาเพื่อที่จะทราบถึงความร่วมมือของประชาชนในหลายกลุ่มของประเทศในยุคนั้นเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดี่ยวของประเทศในการสร้างความสามัคคีทำให้ประเทศชาติเกิดสันติสุขมาอย่างยาวนาน ความเชื่อ ความศรัทธาของกษัตริย์ ในสมัยนั้นที่เป็นรูปแบบการปกครองในด้านต่างๆของการสร้างความสามัคคีของคนในประเทศ ความเชื่อของประชาชนจำนวนมากในเรื่องของพระพุทธศาสนาจึงเกิดรูปแบบวัฒนธรรมอันดีงามที่ถูกรักษาไว้อย่างยาวนานมาถึงการท่องเที่ยวในรูปแบบวัฒนธรรมในปัจจุบันได้อย่างลงตัว
แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงพุทธของวัดพระธาตุหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ต้องการระบบความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในวัดพระธาตุหลวงนครหลวงเวียงจันทน์ที่มีความสำคัญ สิ่งที่ก่อขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาหรือสิ่งที่ใช้เตือนใจให้ระลึกถึง ในทางศาสนาก็หมายเอาสถานที่หรือสิ่งที่เคารพบูชาเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธศาสนาเรียกเต็ม ๆ ว่าสัมมาสัมพุทธเจดีย์หรือพุทธเจดีย์ แต่ที่วัดพระธาตุหลวงนครหลวงเวียงจันทน์นั้นนอกจากการสร้างเพื่อให้สื่อถึงพระพุทธเจ้าแล้วยังสื่อถึง การสร้างความสามัคคีของประชาชนภายในประเทศ ด้วยที่เป็นศูนย์กลางของที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวควรที่จะทำให้สถานที่ท่องเที่ยวแห่งอื่นที่เป็นวัดสำคัญในประเทศนั้นได้จัดพื้นที่แสดงวัดที่สำคัญในนครหลวงเวียงจันทน์ หรือจะเป็นการไหว้พระ ๑๒ วัดโชคดี ๑๒ เดือน เป็นต้น
Download
|