การวิจัยเรื่อง “การประยุกต์หลักใช้อริยมรรคมีองค์ ๘ ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย” โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และ 3. เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักใช้อริยมรรคมีองค์ ๘ ในการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และเก็บข้อมูลภาคสนาม แล้วนำผลวิเคราะห์นำเสนอโดยการพรรณา
การศึกษาหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท หลักอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น พบว่า มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหลักธรรมอื่นๆด้วย ได้แก่ หลักอริยสัจ 4 หลักไตรสิกขา หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท หลักไตรลักษณ์ และมีหลักธรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 หลักธรรมธาตุ 4 หลักธรรมขันธ์ 5 หลักธรรมอายตนะภายใน 6 และหลักกฎแห่งกรรม
สภาพการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สามารถสรุปได้ดังนี้ ซึ่งจากการสัมภาษณ์ประชาชนในตำบลในเมืองหนองคายที่ประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน จากการสัมภาษณ์ทำให้ทราบสภาพการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปว่า ประชาชนที่เป็นคนจังหวัดหนองคายแล้วส่วนมากประกอบอาชีพค้าขายในพื้นที่ต่างๆของจังหวัดหนองคายที่เป็นทำเลที่ดีในการค้าขายส่วนมากและก็จะอยู่ที่ตลาดท่าเสด็จ และรองลงมาคือการเป็นข้าราชการในศูนย์ราชการในจังหวัดหนองคาย ซึ่งจากการสัมภาษณ์และทำให้ทราบหลายประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ในเรื่องของการรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของประชาชนในตำบลในเมืองหนองคายนั้น ก็จะได้เข้ารับการฟังธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดไกลเคียง และผ่านทางออนไลน์ในหลายรูปแบบ ก็จะมีความเข้าใจในหลักธรรมในการดำเนินชีวิตหลายประเด็น ที่เป็นหลักๆ ก็จะเป็น การรักษาศีล๕ ศีล ๘ การให้ทานในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
การประยุกต์หลักใช้อริยมรรคมีองค์ ๘ ในการดำเนินชีวิตของประชาชนใน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ซึ่งแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อแก้ปัญหาของการปฏิบัติหน้าที่การงานทั้ง 3 ประการดังกล่าว โดยเน้นการพัฒนาทิฐิของประชาชนให้เป็นสัมมาทิฐิ เพื่อให้เป็นหลักธรรมนำวิถีการกระทำทางจิตใจหรือมโนกรรมให้เป็นสัมมาสังกัปปะ การกระทำทางวาจาหรือวจีกรรมให้เป็นสัมมาวาจา การกระทำทางกายหรือกายกรรมให้เป็นสัมมากัมมันตะ โดยมีหลักธรรมที่เป็นกำลังอันประกอบด้วยสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เป็นกาลังที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฐิ เพื่อนำไปสู่การมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา และ สัมมากัมมันตะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นในการแก้ปัญหาของการปฏิบัติหน้าที่การงานทั้ง 3 ประการดังกล่าว เพื่อให้ตนเองปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นสัมมาอาชีวะ โดยพัฒนาองค์มรรคทั้ง 8 ประการไปพร้อมๆกันตามหลักมรรคสมังคี รวมทั้งหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักอริยสัจ 4 หลักไตรสิกขา หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท และหลักไตรลักษณ์ ประกอบกับหลักธรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 ธาตุ 4 ขันธ์ 5 อายตนะภายใน 6 และกฎแห่งกรรม
Download |