การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาบริบทและกระบวนการของสถานศึกษาในการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาการบูรณาการการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ๓) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
๑) บริบทของสถานศึกษาในอำเภอเด่นชัย สถานศึกษาได้กำหนดทิศทาง/แนวทางการดำเนินงานในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาใช้เป็นแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด มีแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา และแผนปฏิบัติงานประจำปี มีนโยบายในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้หลักพระพุทธศาสนาร่วมกับชุมชนในท้องถิ่นโดยสม่ำเสมอ ในการดำเนินโครงการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ตามหลักของ “บ-ว-ร”
๒) การบูรณาการการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน พบว่า ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ได้ส่งเสริมให้นักเรียน ประชาชนในชุมชนรักษาศีล ๕ โดยการประสานงานของผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่นในหมู่บ้าน ร่วมกับหน่วยงานราชการ และสถานศึกษา ผ่านโครงการกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนรักษาศีลปฏิบัติธรรมและน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการร่วมปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยประชาชนรู้รักสามัคคีทำความดีถวายในหลวง สร้างสังคมน่าอยู่อย่างยั่งยืน บูรณาการร่วมส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีสุข และส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนมีจิตสาธารณะทำความดีด้วยหัวใจส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งด้วยศีลธรรม
๓) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามจากประชากรกลุ่มตัวอย่างต่อการศึกษาการบูรณาการการรักษาศีล ๕ ในสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน ตามหลักประกันทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๕ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย ( = ๔.๓๐, S.D.= ๐.๖๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามหลักประกันทางพระพุทธศาสนา พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนั้นแนวทางในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน พบว่า ควรส่งเสริมด้วยหลักประกันทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๕ ด้าน
Download |