วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและการจัดตั้งโรงเรียนวิถีพุทธ ๒) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธของโรงเรียนบ้านสะปุ๋ง ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ๓) เพื่อวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การใช้ชีวิตตามแนววิถีพุทธของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะปุ๋ง ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และมีการเก็บข้อมูลภาคสนาม จากแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการใช้ชีวิตตามแนววิถีพุทธ
ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนวิถีพุทธคือโรงเรียนปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการบริหารและการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษาโดยเน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาอย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้พัฒนาการกิน อยู่ ดู ฟัง โดยผ่านกระบวนการทางวัฒนาธรรม แสวงปัญญา และมีวัฒนธรรม เมตตาเป็นรากฐานการดำเนินชีวิตโรงเรียนวิถีพุทธดำเนินการพัฒนาโดยใช้หลักไตรสิขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาอย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการ กิน อยู่ ดู ฟังเป็น คือมีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่าแท้ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตาเป็นรากฐานดำเนินชีวิตโดยมีผู้บริหารและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรพัฒนา
โรงเรียนบ้านสะปุ๋ง ได้มีการนำโครงการโรงเรียนวิถีพุทธมาเป็นแนวทางในการเรียนการสอน โดยมีการสอดแทรกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา แนวทางการปฏิบัติตน ประพฤติตนให้เหมาะสม มีการนำหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ตามหลักการของโรงเรียนวิถีพุทธที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างบูรณาการ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการพัฒนา “การกิน อยู่ ดู ฟัง เป็น” คือ มีปัญญารู้เข้าใจในคุณค่าแท้ ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา และมีวัฒนธรรมเมตตา เป็นฐานการดำเนินชีวิตโดยมีผู้บริหารและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรการพัฒนาและได้เชิญครูพระสอนศีลธรรมจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน วิทยาเขตเชียงใหม่มาให้ความรู้เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ พระพุทธศาสนา เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ การนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ผลสัมฤทธิ์การใช้ชีวิตตามแนววิถีพุทธของนักเรียนโรงเรียนบ้านสะปุ๋ง ๔ ด้าน คือ ด้านกายภาพ (กาย) ด้านศีล (สังคม) ด้านจิด (จิตใจ/อารมณ์) ด้านปัญญาอยู่ในระดับดีจากการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักเรียน ผู้ปกครองและครู ประทับใจในการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวิถีพุทธของโรงเรียน มีความพึงพอใจในระดับดี ครูในโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมวิถีพุทธที่หลากหลาย บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางการเรียนการสอนวิถีพุทธ ส่วนผู้ปกครองมีความพึงพอใจพฤติกรรมของนักเรียนในระดับดี เห็นควรส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธเพื่อพัฒนาฝึกฝนนักเรียนให้ดำเนินชีวิตตามแนวทางไตรสิกขาอันเป็นหลักการวิถีพุทธต่อไป
Download |