หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระณัชพล คุตฺตธมฺโม (ตั๋นคำ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๔ ครั้ง
ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ล้านนาที่ใช้ในงานพิธีมงคล
ชื่อผู้วิจัย : พระณัชพล คุตฺตธมฺโม (ตั๋นคำ) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระอธิการสมนึก จรโณ
  พระครูสิริสุตานุยุต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ล้านนาที่ใช้ในงานพิธีมงคล”    มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประวัติโครงสร้างเนื้อหาของคัมภีร์ล้านนา ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรม  ที่ปรากฏในคัมภีร์ล้านนา ๓) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคัมภีร์ล้านนาที่มีต่อสังคมล้านนา

ผลการวิจัยพบว่าคัมภีร์ล้านนาเป็นเอกสารโบราณที่บรรพชนคนล้านนานำมาบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ล้านนาเป็น      ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ เกิดจากพระสงฆ์และผู้ที่เคยได้รับการบวชเรียนบรรพชาอุปสมบทเป็นผู้จารหรือเขียนขึ้น ในสังคมล้านนาพบการใช้อักษรธรรมล้านนาเขียนบักทึกเป็นหลัก ซึ่งการใช้อักษรเพื่อเขียนสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ช่วงได้ดังนี้ ๑) ล้านนาก่อนการรับอิทธิพลจากสยาม ล้านนามีภาษาและตัวหนังสือเป็นของตนเองเรียกว่า อักษรธรรมล้านนา หรือ “ตั๋วเมือง” ๒) ล้านนาหลังจากรับอิทธิพลจากสยาม รัฐบาลสยามได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนการศึกษาในล้านนาโดยการกำหนดให้มีการสอนภาษาไทยกลาง ลดความสำคัญของภาษาล้านนาลงชาวล้านนาเริ่มสนใจในการเรียนภาษาไทยกลางมากขึ้นเพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานทางข้าราชการและความเป็นอยู่ที่ดีเป็นเหตุทำให้ภาษาธรรมล้านนาได้ลดบทบาทลงในสังคมล้านนา

ทั้งนี้ งานวิจัยฉบับนี้ ได้นำเนื้อหาของคัมภีร์ล้านนาทั้ง ๕ เรื่อง คือ สารากริวิชาสูตร โลกาวุฒิ อัตถิอุณหัสสะ พุทธสังคหะโลก มาเปรียบเทียบกับคัมภีร์พระไตรปิฎกแล้วพบว่าเนื้อหาของคัมภีร์ล้านนานั้นมีส่วนที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับเนื้อหาของคัมภีร์พระไตรปิฎกดังปรากฏเนื้อหาอยู่ข้างต้น แต่คงเหลือคัมภีร์ล้านนาเรื่อง คัมภีร์ไชยะสังคหะ ไม่พบว่าเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเนื้อหาในพระไตรปิฎก อย่างไรก็ตามคัมภีร์ล้านนาที่ใช้ในงานพิธีมงคลทั้ง ๕ เรื่องนี้ ได้สอดแทรกเอาหลักขอไตรสิกขาไว้ และปรากฏหลักธรรมสำหรับการดำเนินชีวิต ดังเช่น ศีล ๕ หลักปาฏิหาริย์ ๓ และการบำเพ็ญความดี

 

อิทธิพลของคัมภีร์ล้านนาที่มีต่อความเชื่อประเพณีพิธีกรรมในสังคมล้านนา คนล้านนาจึงเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ให้เคารพและนับถือพระรัตนตรัย ผู้ใดเชื่อเคารพในพระรัตนตรัยแล้วจะได้เกิด     ในสุคติภูมิที่ดี ไม่ไปสู่อบายภูมิทั้ง ๔ มีพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด ดังจะเห็นได้จากที่มีคัมภีร์    ใบลานล้านนาที่ปรากฏอยู่ทุกวัด เพราะความเชื่ออันเกิดจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ฝังรากลึก ทำให้ปราชญ์โบราณได้แต่งคัมภีร์ที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแทรกเข้าในเนื้อหา เพื่อจะใช้คัมภีร์ล้านนาเหล่านั้นมาเป็นสื่อกลางในการชักจูงให้ผู้คนนั้นมีความเกรงกลัวต่อบาปอกุศลกรรมทั้งปวงแล้วหันมากระทำคุณงามความดีปฏิบัติตามศีลธรรมและข้อปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้กำหนดเพื่อความเป็นมงคลในการดำเนินชีวิต และเป็นแนวทางของการพ้นทุกข์ในสังสารวัฏ ตามคติความเชื่อของศาสนาพุทธ

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕