หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสังฆรักษ์เอกพันธ์ ปญฺญาภทฺรเมธี
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
ศึกษาการสร้างความสามัคคีโดยใช้หลักศีล 5 ของชุมชนหมู่บ้านปรือคันตะวันออก อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสังฆรักษ์เอกพันธ์ ปญฺญาภทฺรเมธี ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชธรรมสารสุธี
  พระมหาขุนทอง เขมสิริ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

  วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างความสามัคคีโดยใช้หลักศีล ๕ ในพระพุทธศาสนา  ๒) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนของหมู่บ้านปรือคันตะวันออก และ ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสร้างความสามัคคีโดยใช้หลักศีล ๕ ของหมู่บ้านปรือคันตะวันออก อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

จากการศึกษาพบว่า ศีล ๕ ตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมการกระทำทางกายและทางวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามให้ดียิ่งขึ้นทำให้มีความสุจริตทางกาย วาจาและอาชีพ ส่วนความสามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกัน การร่วมแรงร่วมใจกันที่แสดงออก             ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพความสามัคคีจะก่อให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียวกันและก็สามารถปฏิบัติงานทุกอย่างได้สำเร็จ

สำหรับบริบทชุมชนของหมู่บ้านปรือคันตะวันออก บ้านปรือคันตะวันออกมีคำขวัญประจำหมู่บ้าน วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดเด่นประเพณี วัฒนธรรม กฎระเบียบ ค่านิยม และความสัมพันธ์ของชุมชน ประเด็นยุทธศาสตร์ และด้านยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ มี ๓ ด้านคือ ๑) ด้านกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาชีวิตตามหลักธรรมศีล ๕ ๒) ด้านกิจกรรมตามวิถีชาวพุทธ และ ๓) หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบระดับประเทศ

ส่วนแนวทางการสร้างความสามัคคีโดยใช้หลักศีล ๕ ของหมู่บ้านปรือคันตะวันออก อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า การปฏิบัติตามหลักของศีล ๕ ในพระพุทธศาสนาทำให้ชาวบ้านปรือคันตะวันออกมีการงดเว้นจากการกระทำความชั่วทางกายและวาจา มีการขับเคลื่อนความสามัคคีตามหลักของศีล ๕ มี ๔ ระดับคือ ๑) ระดับครอบครัว ๒) ระดับชุมชน ๓) ระดับโรงเรียน และ ๔) ระดับวัด และมีผลของการสร้างความสามัคคีตามหลักของศีล ๕ อยู่ ๒ ระดับ คือ ๑) การไม่ล่วงละเมิดกติกาของสังคม และ ๒) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทำให้ได้รับประโยชน์จากการสร้างความสามัคคีตามหลักของศีล ๕ มี ๒ ระดับ คือ ประโยชน์ในระดับสังคมและประโยชน์ในระดับปัจเจกบุคคล

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕