งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการหลัก คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ๒) เพื่อศึกษาปริศนาธรรมจากผลงานทางพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) ๓) เพื่อศึกษาการสร้างศรัทธาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นชาวจังหวัด พระนครศรีอยุธยา เกิดที่บ้านไก่จ้น ตำบล ท่าหลวง อำเภอท่าเรือ บรรพชาเป็นสามเณร พ.ศ.๒๓๔๓ขณะมีอายุได้ ๑๒ ปี อุปสมบท พ.ศ.๒๓๕๑ ขณะอายุ ๒๐ ปี สำเร็จการศึกษา ภาษาบาลี เเละเรียนวิปัสสนากรรมฐาน จากพระอรัญญิก (เเก้ว) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร เเละพระบวรวิริยะเถระ (อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม ได้ศึกษาภาษาบาลีเพิ่มเติมจาก สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังโฆสิตาราม รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
การสร้างศรัทธาของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) มี ๓ รูปแบบคือ ๑.) รูปเเบบสร้างพระพุทธรูป ๕ องค์ คือ องค์ที่ ๑ พระปางอุ้มบาตร ที่วัดกลาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี องค์ที่ ๒ พระปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร องค์ที่ ๓ พระนอน ปางสีหไสยาสน์ วัดสะตือ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา องค์ที่ ๔ พระมหาพุทธพิมพ์ ปางสมาธิ วัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย จ.อ่างทอง องค์ที่ ๕ พระพุทธรูป ปางมารวิชัย ที่วัดพิตเพียน อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา ๒.) รูปแบบการสร้างพระเครื่อง ได้เเก่ สมเด็จวัดระฆัง ๔ พิมพ์คือ (๑) พิมพ์พระประธาน (๒) พิมพ์เจดีย์ (๓) พิมพ์ฐานเเซม (๔) พิมพ์เกศบัวตูม สมเด็จบางขุนพรหม ๙ พิมพ์ คือ (๑) พิมพ์พระประธาน (๒) พิมพ์เจดีย์ (๓) พิมพ์ฐานเเซม (๔) พิมพ์เกศบัวตูม (๕) พิมพ์เส้นด้าย (๖) พิมพ์สังฆาฎิ (๗) พิมพ์ฐานคู่ (๘) พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร (๙) พิมพ์ปรกโพธิ์ สมเด็จวัดเกศไชโย ๕ พิมพ์คือ (๑) พิมพ์เจ็ดชั้นนิยม (๒) พิมพ์หกชั้นอกตัน (๓) พิมพ์หกชั้นอกตลอด (๔) พิมพ์เจ็ดชั้นหูประบ่า (๕) พิมพ์เจ็ดชั้น ไหล่ตรง ๓.) รูปแบบการสร้างศรัทธาโดยคำสอน เรื่องการลดอัตตา ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในสมณศักดิ์ คำสอนเรื่องความสันโดษ ไม่สะสมสิ่งของ คำสอนเรื่องการให้ทาน เพื่อการสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์
Download |