วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อ ๑) ศึกษาประวัติและพัฒนาการของพุทธศิลป์ในล้านนา ๒) เพื่อศึกษาการสืบทอดและการสร้างงานช่างพุทธศิลป์ล้านนา ของพระเบญจิมิน สุตา วัดหาดนาค ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ ผลจากการศึกษา พบว่า
ประวัติและพัฒนาการพุทธศิลป์ในล้านนา เริ่มจากการก่อตั้งอาณาจักรล้านนา พบพุทธศิลป์เชียงแสนคือ พระสิงห์ ต่อมาแคว้นหริภุญชัยพระนางจามเทวีได้กลุ่มช่างฝีมือจากเมืองลพบุรีเป็นอิทธิผลการสร้างงานช่างพุทธศิลป์แบบทวาราวดี เมืองเชียงใหม่สมัยพญากือนา พุทธศิลป์ได้รับอิทธิผลจากเมืองสุโขทัย และได้สร้างวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก พุทธศิลป์คงมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก โดยได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์และเจ้าขุนมูลนาย ก่อนอาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำนาจของพม่า
การสืบทอดและการสร้างงานช่างพุทธศิลป์ล้านนา ในวัดหาดนาค เป็นงานช่างไม้ที่มีความมุ่งหมาย ในการฝึกหัดให้กับพระภิกษุสามเณร และศิษย์ที่สนใจ เพื่อ ๑. เป็นพุทธบูชา ๒. เพื่อการศึกษาพุทธศิลป์ ๓. เพื่อเอาพุทธศิลป์กลับเข้ามาสู่วัด
ผลสำเร็จในการสืบทอดงานช่างพุทธศิลป์ของพระเบญจิมิน สุตา ในวัดหาดนาค พบว่ามีปัจจัย ดังนี้ ๑. ความเชี่ยวชาญหรือฝีมืองานช่าง ที่ได้รับการสืบทอดและเรียนรู้จากครอบครัว ๒. ความสนใจของพระภิกษุสามเณร กลุ่มลูกศิษย์ ที่ร่วมฝึกหัดงานช่างพุทธศิลป์ กับพระอาจารย์ ๓. กระบวนการศึกษา คือ วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ๔. อุดมการณ์สืบทอดและอุดมการณ์สร้างงาน และทำให้ทราบถึงประวัติการพัฒนาพุทธศิลป์ในล้านนา และทำให้ทราบการสืบทอดงานช่างพุทธศิลป์ในวัดหาดนาค กระบวนการ สร้างและการสืบทอด โดยผ่านการศึกษาทางเลือกหรือการศึกษานอกระบบที่ยังมีอยู่ในแขนงงานช่างพุทธศิลป์ถึงปัจจุบัน
Download |