งานวิทยานิพนธ์เรื่อง “แนวคิดและประเพณีการตั้งธรรมเวสสันตระของชาวไท เมืองพยาก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์” มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของชาวพุทธไท เมืองพยาก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดและประเพณีตั้งธรรมเวสสันตระที่มีต่อชาวไท เมืองพยาก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ และ(๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและประเพณีการตั้งธรรมเวสสันตระของชาวไท เมืองพยาก รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ งานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงเอกสารเป็นหลัก และใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตลอดจนทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบประเพณีการตั้งธรรมเวสสันตระของชาวไท เมืองพยาก
รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ มี ๒ รูปแบบ ได้แก่ (๑) รูปแบบที่เป็นเทศกาลหรือประเพณี แบ่งเป็น ๑.๑) ลักษณะที่เทศน์ในวันพระช่วงฤดูเข้าพรรษา ๑.๒) ลักษณะที่จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๑๑ ของชาวไท (๒) รูปแบบที่จัดขึ้นนอกเทศกาลหรือจัดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ แบ่งเป็น ๒.๑) ลักษณะที่จัดการเทศน์เวสสันตระขึ้นโดยเฉพาะ ๒.๒) ลักษณะที่จัดการเทศน์เวสสันตระขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการบวชพระเป๊กตุ๊ ๒.๓) ลักษณะที่จัดการเทศน์เวสสันตระขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการอุทิศให้ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้ว
พิธีกรรมการบูชาการตั้งธรรมเวสสันตระของชาวไท มีปะโยชน์และคุณค่า ด้านปัจเจกบุคคล ทำให้บุคคลมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คุณค่าด้านครอบครัว มีที่พึ่งพึงทางใจให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยอุ่นใจ คุณค่าพิธีกรรมการบูชาบรรพบุรุษ ผู้มีบุญคุณ ทำให้เกิดความสามัคคีในครอบครัว คุณค่าด้านสังคม ทำให้เกิดความเชื่ออันเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของบุคคลในชุมชน คุณค่าด้านเศรษฐกิจ มีผลต่อทางจิตใจของบุคคล มีผลต่อการดำเนินชีวิตของปัจเจกบุคคล หรือวิถีชีวิตที่ดีงามของชุมชนไท คุณค่าด้านพระพุทธศาสนา ทำให้บุคคลเกิดกำลังใจในการทำกิจการงานต่างๆ และคุณค่าพิธีกรรมการบูชาบรรพบุรุษ ผู้มีบุญคุณ ก่อให้เกิดผลดีต่อพระพุทธศาสนา “มุ่งให้ทุกคนมีธรรมะ มีคุณธรรม และสอนให้คนเป็นคนดี”
Download |