หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Nan Cho Cho Naing
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การประยุกต์ใช้พาหุสัจจะเพื่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน
ชื่อผู้วิจัย : Nan Cho Cho Naing ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
  พระมหาสุขสันติ์ สุขวฑฺฒโน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้พาหุสัจจะเพื่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์คือ  ๑) เพื่อศึกษาพาหุสัจจะในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับพาหุสัจจะ ๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้พาหุสัจจะเพื่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน   ในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเอกสาร  (Documentary Research)  โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นปฐมภูมิ (Primary Source)   คือข้อมูลจากพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ และข้อมูลจากเอกสารชั้นทุติยภูมิ  (Secondary Source)  โดยรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์อรรถกถา  ฎีกา  งานวิจัย  และตำราอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเรื่องนี้ ผลจากงานวิจัยสรุปได้ว่า

          ๑) พาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ทรงความรู้กว้างขวาง ใส่ใจสดับตรับฟัง ซึ่งความเป็นพหูสูตนั้นมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ ๕ ได้แก่ ๑) พหุสสุตา ฟังมาก คือได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก ๒) ธตา จำได้ คือ จำหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ ๓) วจสา ปริจิตา คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนคล่องแคล่ว จัดเจน ๔) มนสานุเปกขิตา เพ่งขึ้นใจ คือใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใดก็ปรากฏเนื้อความเด่นชัด  และ ๕) ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา ขบได้ด้วย

ทฤษฎี หรือแทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ ความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล    

๒) ความเป็นพหูสูตนั้น เกิดจากหลักธรรมสนับสนุนทั้งภายในและภายนอก คือ ภายในได้แก่ โยนิโสมนสิการ  ศรัทธา  ปัญญา  ศีล  และปฏิเวธ ส่วนภายนอกได้แก่ ปรโตโฆสะ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเป็นพหูสูต และพาหุสัจจะนั้นมีอานิสงค์มากมาย แต่สามารถสรุปผลได้คือ ภิกษุพหูสูตจะมีอานิสงส์ทำให้เกิดลาภ ทำให้ละอกุศล บรรลุกุศลธรรม ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย และคฤหัสถ์พหูสูตมีอานิสงส์ ทำให้บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญ และ ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า 

๓) ในการศึกษาการประยุกต์ใช้พาหุสัจจะเพื่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันนั้น ได้ใช้หลักอริยสัจ ๔ เป็นกรอบความคิดในการวิเคราะห์โดยเริ่มต้นจาก ทุกข์ อันหมายถึงวิกฤตปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ชาติ จากนั้นจึงค้นหา สมุทัย หรือสาเหตุแห่งปัญหาว่าเกิดมาจากแนวทางใด เพื่อให้ได้มาซึ่ง นิโรธ คือภาวะหมดทุกข์หรือหมดปัญหา ก็ได้นำเสนอ มรรค หรือวิธีแก้ไขปัญหา โดยใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาคือ ‘พาหุสัจจะ’  ที่ว่าหลักธรรมนี้จะเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งปัญหาหลัก ๆ เกิดจากคุณภาพการศึกษาและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องทำให้ขาดวิจารณญาณ เพราะฉะนั้นจึงต้องนำคุณสมบัติของพาหุสัจจะทั้ง ๕ ประการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้รู้เท่าทันต่อปัญหา  การเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งการพัฒนาชีวิตที่ยั่งยืนทั้งทางโลกและทางธรรม

 

 

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕