หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสิริปัญญานุโยค (ปัญญา ภู่มาลา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสิริปัญญานุโยค (ปัญญา ภู่มาลา) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิวัฒน์ หามนตรี
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ



วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ ๑) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการ    ในสังคมไทย และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย

            ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (In-depth interview) จำนวน ๑๕ รูป เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ  

            ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

            ๑. การส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย ตามหลักสุขภาวะ ๔ พบว่า ๑) ด้านกาย มีการส่งเสริมให้ออกกำลังกายทุกวันพุธ จัดกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยตาราง ๙ ช่อง กายบริหารในลานวัด ลานกีฬา และมีการจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพ ๒) ด้านจิต มีการส่งเสริมให้นั่งสมาธิ เจริญภาวนาทุกวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมนั่งสวดมนต์ทุกวันตอนเย็น ตลอดถึงการสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งจะเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุ      ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และมีการส่งเสริมจิตอาสา เพื่อเป็นพลวัตแรงขับเคลื่อนในการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะที่มีความยั่งยืน ๓) ด้านปัญญา มีการแบ่งปันสิ่งของและให้ความรู้   เพื่อเป็นต้นแบบสังคมแห่งการโอบอ้อมอารีย์ มีน้ำใจ มิตรไมตรี และเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณ และ    ๔) ด้านสังคม มีการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา ภายใต้การขับเคลื่อนงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และการสร้างเสริมชุมชนสัมพันธ์

            ๒. รูปแบบและกระบวนการการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย พบว่า ๑) กระบวนการให้ความรู้ มีการจัดโครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นการพัฒนาจิตใจ ๒) กระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมในการพัฒนาสุขภาวะให้มีความเป็นเอกภาพ ๓) กระบวนการบริหารจัดการ มีการวางแผนการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาวะให้กับประชาชน และ ๔) กระบวนการเชิงจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพในกระบวนทัศน์ใหม่ เช่น สุขภาพองค์รวม ที่เน้นการบูรณาการอย่างมีดุลยภาพของส่วนต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับมิติทางปัญญา

๓. รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย พบว่า ๑) ด้านกาย พบว่า มีการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย มีกายบริหารในลานวัด ลานกีฬา มีการจัดตั้งชมรมวิ่ง และมีการจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพ ๒) ด้านจิต มีการส่งเสริมให้นั่งสมาธิ             เจริญจิตตภาวนา เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ ผ่องใส ปลอดโปร่ง ๓) ด้านปัญญา มีการแบ่งปันสิ่งของและให้คำปรึกษาด้านสุขภาวะ และการบริหารจัดการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ค่านิยม และทัศนคติที่ดีต่อกัน และ ๔) ด้านสังคม มีการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการ ในการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อขับเคลื่อนงานสุขภาวะเชิงพุทธสัญจร เพื่อสร้างเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้กับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ผ่านกระบวนการศึกษาข้อมูลด้านสุขภาวะของพระสงฆ์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ภายใต้การขับเคลื่อนงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕

Download


 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕