หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดนิคม นาควโร (รอดอุไร)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานในการบริหารจัดการ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดนิคม นาควโร (รอดอุไร) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิวัฒน์ หามนตรี
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษารูปแบบและมาตรฐานในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร  ๒)  ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร  ๓)  เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบและมาตรฐานในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย  จากสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน ๕ แห่ง  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า 

    ๑. รูปแบบในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครทั้ง ๕ แห่งใช้การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมด้วยหลักสัปปายะ ๔ ประกอบด้วย อาวาสสัปปายะ  สำนักปฏิบัติธรรมจะต้องมีด้านความสะอาด สงบ สว่าง บริเวณร่มรื่น  มีอาคารปฏิบัติธรรม  ไม่มีเสียงรบกวนจากภายนอก , อาหารสัปปายะ  มีอาหารที่บริโภคเป็นอาหารที่สบายต่อความเป็นอยู่ในอัตภาพ , บุคคลสัปปายะ  ผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมมีอัธยาศัยที่ดีต่อกันเป็นไปทางเดียวกัน  มีความเสียสละเพื่อสาธารณะ , ธรรมสัปปายะ  หลักธรรมสำหรับปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน    เป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาปฏิบัติให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม

    ๒. องค์ประกอบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครทั้ง ๕ แห่งประกอบกด้วย  ด้านบริหารการจัดการ คือ เจ้าอาวาสหรือเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมมีความสนใจ และเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการ ด้านอาคารสถานที่ คือ มีห้องน้ำ ห้องสุขาที่สะอาดและเพียงพอ ด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นซีดี สื่ออินเทอร์เน็ต ด้านทีมงานพระวิทยากร พระภิกษุสามเณรหรือบุคลากรในสำนักมีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และด้านการวางแผนการดำเนินการมีการจัดคอร์สการปฏิบัติให้เหมาะสมกับประชาชนทั่วไปที่เข้ามาปฏิบัติธรรมเป็นองค์ประกอบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร

๓. แนวทางการพัฒนารูปแบบและมาตรฐานในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานครทั้ง ๕ แห่งใช้มี  ๔ รูปแบบประกอบด้วย  การบริหารจัดการอาศัยปัจจัยส่วนบุคคลเป็นองค์ประกอบ , การบริหารจัดการที่ใช้ทรัพยากรภายในเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน , การบริหารที่เน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคลภายในวัด และการบริหารจัดการที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕