หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูโพธิสุวรรณคุณ (มานพ จนฺทาโภ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
ทุนทางสังคม : แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชนลาวโซ่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูโพธิสุวรรณคุณ (มานพ จนฺทาโภ) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีรัตนบัณฑิต
  เดชา กัปโก
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาลักษณะทุนทางสังคมของชุมชนลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี  ๒) ศึกษาศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชนลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ๓) เสนอแนวทางการเชื่อมโยงเครือข่ายส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชนลาวโซ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน ๔๗ รูป/คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาความ

        ผลการวิจัยพบว่า 

           ๑. ลักษณะทุนทางสังคมของชุมชนลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้พบลักษณะทุนทางสังคมของชุมลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี  ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ใน ๔ องค์ประกอบที่สำคัญ คือ องค์ประกอบด้านมนุษย์ องค์ประกอบด้านสถาบันและองค์กรชุมชน องค์ประกอบด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และองค์ประกอบด้านภูมิปัญญาและวิถีชุมชน เนื่องจากชุมชนชาวลาวโซ่งโดยทั่วไปมีความผูกพันกับเครือญาติและชาวลาวโซ่งด้วยกันเองค่อนข้างสูง มีวิถีวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต การรักษาสืบทอดวัฒนธรรม ประเพณี จะผูกพันกับความเชื่อในพิธีกรรม ๒ ลักษณะ คือ  พิธีกรรมตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา เช่น ประเพณีการบวช และพิธีกรรมตามความเชื่อแบบดั้งเดิมคือนับถือผี ทั้งยังรวมกลุ่มอนุรักษ์วิถีชีวิตและการละเล่นพื้นบ้านของตนไว้อย่างเหนียวแน่น และมีการปฏิสัมพันระหว่างกลุ่มลาวโซ่งในพื้นที่อื่นๆ ของจังหวัดและในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสัมผัสวิถีชุมชน

        ๒. ศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชนลาวโซ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี จากการศึกษาทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน ได้พบองค์ประกอบที่เป็นศักยภาพชุมชนที่เหมาะสมในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนลาวโซ่ง ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านทรัพยากรชุมชน ชุมชนมีทรัพยากรเชิงวัฒนธรรมที่ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตชุมชน ชุมชนองมีความต้องการสร้างคุณค่า มูลค่าจากวัฒนธรรมของตน อีกทั้งต้องการส่งเสริมการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ในแง่การจัดการความพร้อมของชุมชนและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการท่องเที่ยวในมิติของชุมชนแล้ว ได้มีการรวมกลุ่มผลิตสิ้นค้าจากภูมิปัญญาชุมชน ๒) ด้านองค์กรชุมชนและผู้นำ ชุมชนมีผู้นำที่อาจะเป็นผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่คนในชุมชนต่างให้ความเคารพ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำต่างมีจิตใจที่มุ่งหวังประโยชน์และความเข็มแข็งของชุมชน และหาแนวทางส่งเสริมจากภายนอกชุมชน ๓) ด้านการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วม ชุมชนมีการจัดการตนเองด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน โดยสมาชิกในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการคิด การวางแผน การทำกิจกรรม การติดตามปรับปรุง และการเรียนรู้ประเมินผล รับประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงมีการกำหนดมีกฎ กติการ่วมกัน ที่ชุมชนสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๔) ด้านเครือข่ายและการประสานงาน ชุมชนมีการรวมกันเป็นกลุ่ม เป็นชมรมหรือองค์กรชุมชน รวมถึงเครือข่ายการท่องเที่ยวและการให้บริการต่าง ๆ

๓.  แนวทางการเชื่อมโยงเครือข่ายส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนของชุมชนลาวโซ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี กิจกรรมการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชุมชนและวัฒนธรรมชุมชนลาวโซ่ง ใน ๓ มิติ คือ มิติท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์  มิติท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม และ มิติท่องเที่ยววิถีชุมชนและธรรมชาติ และควรสร้างเครือข่ายส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนและวัฒนธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ประสานงานสนับสนุนจากเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ ทำหน้าที่ในการรับผิดชอบบริหารจัดการและวางแผนพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญา สถานศึกษาทำหน้าที่สะสม เผยแพร่องค์ความรู้ หรือมีการส่งเสริมจัดอบรมให้ความรู้ พัฒนาฝึกปฏิบัติการต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ชุมชนทั้งในเรื่อง อาหารความปลอดภัย รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ผู้ประกอบการในการส่งเสริมอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาของท้องถิ่น การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างยั่งยืน เครือข่ายภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการรวบรวมข้อมูลภายหลังการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว ช่วยให้เครือข่ายเกิดการวางแผนการจัดการท่องเที่ยวในครั้งต่อไป เหล่านี้เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนและวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕