หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสัมฤทธิ์ อธิจิตฺโต (ถาพร)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๗ ครั้ง
รูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสัมฤทธิ์ อธิจิตฺโต (ถาพร) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อุบลวรรณา ภวกานันท์
  วุฒินันท์ กันทะเตียน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ๒) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ๓) เพื่อการนำเสนอการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญในเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย ด้วยวิธีสุ่มแบบบังเอิญจากผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ จำนวน ๔๘ คน

 

              ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. รูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นั้นเป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องใช้เทคนิค วิธีการ ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารให้ผู้เรียนได้รับความรู้ เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขโดยต้องให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ร่วมมือ ร่วมใจในการทำงาน ทั้งครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักการภารโรงแตกต่างกันไปตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยเฉพาะในยุคที่การศึกษาไร้พรมแดน ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ในการจัดการศึกษาให้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกจะต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนใหม่ๆ ให้แก่ครูและนักเรียน ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรเพื่อสามารถสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การบริหารจะควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น เป็นการพัฒนาที่มุ่งสู่ดุลยภาพของมิติ ๓ ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

              ๒. ศึกษาวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พบว่า การบริหารงานในสถานศึกษานั้น ควรประกอบด้วยงานที่สำคัญทั้ง ๔ ด้าน คือ ๑) การบริหารงานวิชาการ มุ่งเน้นวิธีการแก้ไขปัญหาเป็นตัวตั้งโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ๒) การบริหารงบประมาณและการเงิน ส่งเสริมให้ทุกโครงการได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างทั่วถึง ๓) การบริหารบุคคล ส่งเสริมให้ครูพัฒนาด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ และ ๔) การบริหารงานทั่วไป ส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการงานเอกสารและธุรการ ซึ่งแต่ละงานจะมีรายละเอียดในการปฏิบัติงานที่จะทำให้สถานศึกษาดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวางนโยบายในรูปแบบการบริหารการศึกษาให้มีประสิทธิภาพในทุกๆ ด้าน โดยการบริหารในแต่ละส่วนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

              ๓. นำเสนอรูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า เมื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมอ จัดสรรงบประมาณให้กับทุกโครงการในโรงเรียนอย่างเสมอภาค ครูผู้สอนได้พัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการงานเอกสารการเรียนการสอนด้านธุรการต่างๆ โดยให้ทุกภาคส่วนมีความสำคัญและเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ย่อมนำมาซึ่งการส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมต่อไป และนำเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนอื่นได้

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕