การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาพัฒนาการอัตลักษณ์ของประชาชนลาวในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและการอนุรักษ์พัฒนาการอัตลักษณ์ของประชาชนลาวในสังคมไทย ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการสร้างพัฒนาการอัตลักษณ์ของประชาชนลาวในสังคมไทย วิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวบรวมข้อมูลจากเอกสารควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เกี่ยวกับพัฒนาการอัตลักษณ์ของประชาชนลาวในสังคมไทย วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์อัตลักษณ์ของประชาชนลาวในสังคมไทย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบปริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑. พัฒนาการอัตลักษณ์ของประชาชนลาวในสังคมไทย แบ่งได้ดังนี้ ๑) อัตลักษณ์ด้านการติดต่อทางวัฒนธรรม ๒) อัตลักษณ์ด้านการศึกษา ๓) อัตลักษณ์ด้านการคมนาคม ๔) อัตลักษณ์ด้านเศรษฐกิจ ๕) อัตลักษณ์ด้านชาติพันธุ์ ๖) อัตลักษณ์ด้านพัฒนาการทางด้านภาษา ๗) อัตลักษณ์ด้านพัฒนาการด้านการแต่งกาย ๘) อัตลักษณ์ด้านพัฒนาการด้านอาหาร มีวัฒนธรรมการบริโภค
๒. กระบวนการสร้างและการอนุรักษ์พัฒนาการอัตลักษณ์ของประชาชนลาวในสังคมไทยคนลาวต้องมีการอนุรักษ์ รักษาความเป็นลาวโดยการพูดจาภาษาลาวต้องสุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน ใช้การทักทายสบายดีเป็นคำทักทายต้อนรับกันตอนแรกพบ รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชนตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมสอนให้คนรุ่นหลังให้เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม ควรส่งเสริมการศึกษา การอนุรักษ์ การถ่ายทอด พัฒนา และแก้ไขสิ่งที่ไม่ถูกต้องแก่เยาวชนหรือผู้ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ส่งเสริมในการศึกษาในระดับและสร้างความตระหนักรู้คุณค่าทางวัฒนาธรรมและควรอนุรักษ์รักษาฮีตคองประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ
๓. ปัญหาและอุปสรรคของการสร้างพัฒนาการอัตลักษณ์ของประชาชนลาวในสังคมไทย ปัญหาทางสภาพสังคม เทคโนโลยี สังคมการเมือง เศรษฐกิจและความต้องการสิ่งใหม่ของคนลาวต่อการดำลงชีวิต ทำให้คนลาวรับเอาวัฒนธรรมสังคมอื่นมากเกินไปจนทำให้มีปัญหาในการอนุรักษ์อัตลักษณ์ของตนเอง การนุ่งถือ ภาษาพูด รวมทั้งสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ซึมซับเอาวัฒนธรรมไทยโดยตรงจนทำให้ลืมฮีตคองประเพณีวัฒนธรรม ภาษาการพูดของลาว
๔. ข้อเสนอแนะต่อการสร้างพัฒนาการอัตลักษณ์ของประชาชนลาวในสังคมไทย ควรจัดให้มีหน่วยงานส่วนที่เกี่ยวข้องจัดตั้งองค์กรเผยแพร่วัฒนธรรมร่วมกับชาติอื่น ๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวัฒนธรรมชาติอื่น ควรส่งเสริมให้วัฒนธรรมลาวก้าวสู่เวทีโลก ควรปรับหลักสูตรการเรียนการสอนควรบรรจุเกี่ยวกับวัฒนธรรมลาวเข้าในการเรียนการสอนในทุกระดับ ส่งเสริมให้นักศึกษาคนรุ่นใหม่ได้รับการฝึกอบรมโดยเฉพาะศีลธรรมและวัฒนธรรมฮีตคองประเพณี ฮีตคองลาวเป็นฮีตคองอารยชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และควรสร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้างฟื้นฟู และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติลาว
Download |