หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุทธิพงษ์ สุทฺธิวํโส
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษานารีวิทยา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระสุทธิพงษ์ สุทฺธิวํโส ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมชัย ศรีนอก
  นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 ในการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษานารีวิทยา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉาในรายวิชาพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษานารีวิทยาเขตบางบอนกรุงเทพมหานคร ๒. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนในรายวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษานารีวิทยา เขตบาง บอน กรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉา

              ผลวิจัยพบว่า

              การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษานารีวิทยา เขตบางบอน กรุงเทพมหานครพบผลการวิจัยดังนี้

              ๑. คะแนนการทําใบงานของแผนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ มี ค่าเฉลี่ย ๒๗.๔๗ คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๕๖ คะแนนจากการทําแบบทดสอบหลังเรียน ๓๐ ข้อ มีค่าเฉลี่ย ๑๗.๓๕ คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๓ ซึ่งสรุปได้ว่าจากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษานารีวิทยา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ทดลองกับ กลุ่มตัวอย่างจํานวน ๓๔ คน ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ ๙๑.๕๖ / ๕๗.๘๓

              ๒. คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนโดย การจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรม สากัจฉา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษานารีวิทยา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ด้วยการทดสอบก่อนเรียนจํานวน ๓๐ ข้อ มีค่าเฉลี่ย ๑๓.๗๔ แล้วทําการทดสอบหลังเรียนจํานวน ๓๐ ข้อ มีค่าเฉลี่ย ๑๗.๓๕ ซึ่งสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน คือ ๑๓.๗๔ / ๑๗.๓๕ มีค่าสถิติ t - ๕.๘๓๐ มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕