หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมคิด กมโล (มีสี)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมคิด กมโล (มีสี) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อนุวัต กระสังข์
  เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ  ๑. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการเสริมสร้างสุขภาวะ
ของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  ๒. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของผู้สูงอายุกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบล
ท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน ๒๙๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๘๒ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๑๒ รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑. ผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีความต้องการในการเสริมสร้างสุขภาวะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = ๓.๓๗, S.D. = ๐.๑๖๓) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านที่อยู่อาศัย (  = ๓.๖๓, S.D. = ๐.๔๐๔) ด้านความปลอดภัย (  = ๓.๗๑, S.D. = ๐.๓๙๑) และทางด้านร่างกาย (  = ๒.๙๖, S.D. = ๐.๓๐๒) ด้านการศึกษา (  = ๓.๓๗, S.D. = ๐.๓๒๔) ด้านนันทนาการ (  = ๓.๑๗, S.D. = ๐.๒๘๒) อยู่ในระดับปานกลาง และการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = ๓.๓๑, S.D. = ๐.๒๔๖) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (  = ๓.๔๐, S.D. = ๐.๔๒๕) ด้านการออกกำลังกาย (  = ๓.๒๕, S.D. = ๐.๓๖๕) ด้านโภชนาการ (  = ๓.๓๒, S.D. = ๐.๔๐๒) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (  = ๓.๓๒, S.D. = ๐.๔๒๓) ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ
(
 = ๓.๒๙, S.D. = ๐.๔๒๖) ด้านการจัดการความเครียด (  = ๓.๓๑, S.D. = ๐.๔๐๗)  

 

๒. ความต้องการของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ
โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (
R = .๔๗๖**) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ความต้องการของผู้สูงอายุไม่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุอยู่ในระดับต่ำ คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (r = .๑๐๙) ด้านการออกกำลังกาย (r = -.๐๒๙) ด้านโภชนาการ (r = -.๐๑๔) และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (r = -.๐๓๔) ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ (r = -.๐๔๓) ด้านการจัดการกับความเครียด (r = -.๐๒๘) อยู่ในระดับสูง 

๓. ปัญหา อุปสรรค การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คือ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยผู้สูงอายุไม่ไปพบแพทย์ในทันทีรอจนอาการรุนแรงมากจึงมาพบแพทย์ ทำให้การรักษาช่วยเหลือของแพทย์นั้นไม่ทันท่วงที การให้คำปรึกษาด้านสุขภาวะจึงไม่เกิดผล การออกกำลังกายขาดความรู้ในการเตรียมพร้อมของร่างกายเพื่อให้ออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย ขาดนักวิชาการในการให้ความรู้และตรวจสุขภาพก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย ขาดความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารและประโยชน์จากการดื่มน้ำที่สะอาด หรือผลไม้ที่เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย โดยแบ่งตามกลุ่มโรคประจำตัวผู้ป่วย ขาดการให้คำปรึกษาถึงแนวทางในการให้กำลังใจของคน ในครอบครัวหรือคนรอบข้างจากนักจิตวิทยา และข้อเสนอแนะการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คือ ให้ความรู้ถึงโทษของการใช้ยาชุดในการรักษา และจัดทีมเข้าตรวจสุขภาพลงสู่หมู่บ้านมากยิ่งขึ้น เช่น ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพเดือนละ ๔ วัน โดยการลงในวันหยุดเสาร์ หรืออาทิตย์ เพื่อจะได้พบปะอย่างทั่วถึง ในการออกกำลังกายควรให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมของร่างกาย เพื่อให้การออกกำลังกายเหมาะสมกับสภาพของร่ากาย เช่น ผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการปวดข้อเข่า ควรออกกำลังในลักษณะใดและควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังลักษณะใด ให้ความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร เช่น อาหารสำหรับ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแบบใด รวมถึงประโยชน์จากการดื่มน้ำที่สะอาดและผู้สูงอายุที่ป่วยโรคใดควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ โดยแบ่งกลุ่มโรคประจำตัวผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน ให้คำปรึกษาถึงแนวทางในการให้กำลังใจจากคนในครอบครัว เช่น การนำผู้สูงอายุไปทำบุญ การพูดคุยพบปะสนทนาในบ้าน หรือการพูดคุยพบปะกับเพื่อนบ้าน และหน่วยงานต่างๆ ร่วมจัดกิจกรรมลงในชุมชนให้มากขึ้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕