หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูเขมาภิวุฒิ (สังเวียน อภิชาโต)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธสำหรับผู้บริหาร สำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูเขมาภิวุฒิ (สังเวียน อภิชาโต) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิน งามประโคน
  อินถา ศิริวรรณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
๒) เพื่อพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๐๕ รูป สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ  ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน สนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน

ผลการวิจัย พบว่า :

สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม พบว่า การบริหารสำนักเรียนโดยการนำของเจ้าอาวาสแต่ละสำนักเรียนมีอำนาจสูงสุด นอกจากนั้นสำนักเรียนได้มอบอำนาจให้อาจารย์ใหญ่และครูผู้สอน เป็นการบริหารระบบพ่อปกครองลูก ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารทรัพยากร ร่วมตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ร่วมจัดหรือปรับปรุงในระบบการบริหารงานพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ร่วมปฏิบัติตามนโยบายแผนงาน โครงการและกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มีการประเมินผลว่าการดำเนินการนั้น ๆ ตามนโยบายของแม่กองธรรมสนามหลวง โดยมอบอำนาจให้กับเจ้าอาวาสแต่ละวัดดำเนินการตามลำดับการปกครองโดยมีเครือข่ายสนับสนุนการบริหารสำนักเรียน

การพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ประกอบด้วย กระบวนการของการมีส่วนร่วม ๕ ด้าน ได้แก่ ๑) การมีส่วนร่วมในการรับรู้ การคิดศึกษาและค้นคว้า หาปัญหาและสาเหตุ ๒) การมีส่วนร่วมในการวางนโยบาย หรือแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม  ๓) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ๔) การมีส่วนร่วมในการควบคุม ติดตาม และประเมินผลการทำงานและนำผลกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ๕) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนา โดยมีผลการประเมินการบริหารแบบมีส่วนร่วมจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ความถูกต้อง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ ประกอบด้วย ๖ ส่วน ดังนี้ ๑) หลักการของการมีส่วนร่วม ๕ ด้าน ๒) ประเภทของการมีส่วนร่วม ๖ ด้าน ๓) ขั้นตอนหรือรูปแบบของการมีส่วนร่วม ๒๖ ด้าน ๔) ลักษณะของการมีส่วนร่วม ๑๐ ด้าน ๕) กระบวนการของการมีส่วนร่วม ๕ ด้าน และ
๖) กิจกรรมการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วม ๕ กิจกรรม โดยบูรณาการหลักอิทธิบาท ๔
ไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมแบบมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕