หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายสว่าง วงศ์ฟ้าเลื่อน
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การบูรณาการสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔(๒๕๕๐)
ชื่อผู้วิจัย : นายสว่าง วงศ์ฟ้าเลื่อน ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พลตรีวีระ วงศ์สรรค์
  รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่
  พระสุธีธรรมานุวัตร
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๐
 
บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหน่วยบูรณาการสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎี หลักการและวิธีการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เพื่อนำเอาหลักการและวิธีการดังกล่าวมาสร้างหน่วยบูรณาการสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาและเพื่อประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยทำการทดลองจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียลประทานสงเคราะห์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน ๔๖ คน ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๔๖ เครื่องมือที่ใช้คือ หน่วบูรณาการสาระการาเรียนรู้พระพุทธศาสนา หน่วยพระพุทธ หน่วยพระธรรม และหน่วยพระสงฆ์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา แบบวัดเจตคติของนักเรียนต่อวิชาพระพุทธศาสนา มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต(x) และแบบทดสอบค่า( t-test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ spss/pc เพื่อหาเจตคติของนักเรียนต่อวิชาพระพุทธศาสนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า หลักการและวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ คือ กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้เนื้อหาวิชาต่าง ๆ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ซึ่งมีครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้กับผ ู ้เรียน และประสบการณ์ต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสมดุลทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ ทัศนะ และสามารถแก้ปัญหาที่ประสบในชีวิตประจำวันได้ หลังการทดลองพบว่า การนำเอาหลักการและวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบหน่วยบูรณาการสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในลักษณะของการบูรณาการภายในวิชา โดยครูผู้สอนคนเดียวสามารถทำได้ และช่วยให้ผลการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ๘๐/๘๐ คือเท่ากับ ๘๕.๐๐/๙๐.๙๔ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยรวมสูงขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ ๙๐.๙๔ เมื่อเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนต่อวิชาพระพุทธศาสนาระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนพบว่า หลังเรียนนักเรียนมีเจตคติต่อวิชาพระพุทธศาสนาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
Download :  255048.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕