การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหาร ๒) เพื่อพัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหาร และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๑๐ รูป สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน สนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน
ผลการวิจัย พบว่า :
สภาพปัจจุบันและปัญหาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหาร พบว่า ผู้บริหาร
มีบารมีสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ที่เรียนบาลี บางสำนักเรียนขาดขาดงบประมาณในการสนับสนุน ขาดครูสอน ผู้เรียนน้อยไม่ครบชั้นเรียน สำนักเรียนที่ยอมรับของผู้เรียนและแม่กองบาลีสนามหลวง ผู้บริหารมีความกระตือรือร้นในการเรียนการสอน ด้วยการสนับสนุน การเรียนการสอนและทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกปี สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนบาลี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
พัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหาร พบว่า มีองค์ประกอบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ๖ ด้าน ได้แก่ การสร้างบารมี การสร้างแรงบันดาลใจ การให้ความสำคัญรายบุคคล การกระตุ้นทางปัญญา การให้รางวัลตามสถานการณ์ และความสามารถพิเศษ โดยมีหลักการ มีวัตถุประสงค์ กระบวนการพัฒนาและการติดตามผลการดำเนินงานโดยมีผลการประเมินการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความถูกต้อง ตามลำดับ
แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหารสำนักเรียน
พระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ ประกอบด้วย ๖ ส่วน ดังนี้
๑) องค์ประกอบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ๖ ด้าน ๒) ความสำคัญของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ๖ ด้าน ๓) บทบาทของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ๑๙ ด้าน ๔) คุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ๒๕ ด้าน ๕) กิจกรรมการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ๖ กิจกรรม และ
๖) การนำไปใช้ ๓ ด้าน อีกทั้งยังพบหลักสังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ ทาน การให้ คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ปิยวาจา วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่ม น้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ คือขวนขวายช่วยเหลือกิจการ สมานัตตตา ความเสมอต้นเสมอปลาย คือทำตนเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอช่วยสร้างความสามัคคี และส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้แก่ผู้บริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน
Download |