การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ๒) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ๓) เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method Research) ได้แก่ ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร (Documentary Research) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อนำไปสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๕ รูป/คน และพัฒนานวัตกรรมโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ไม่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
การวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย แจกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๕๕๖ รูป/คน และ
การตรวจสอบนวัตกรรมการศึกษาด้วยการแจกแบบสอบถามตามมาตรฐานการประเมิน ๔ ด้าน คือ ๑) ความเป็นประโยชน์ ๒) ความเป็นไปได้ ๓) ความเหมาะสม ๔) ความถูกต้อง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๒๖ รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการความจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
๑. สภาพปัญหาของนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมี ๒ ประเภท คือ ๑) สื่อสิ่งประดิษฐ์การเรียนการสอน และ ๒) รูปแบบวิธีการเรียนการสอน ซึ่งข้อที่มีความต้องการความจำเป็นมากที่สุดคือ ๑) สื่อสิ่งประดิษฐ์การเรียนการสอน ได้แก่ (๑) สื่อชุดฝึกทักษะ (๒) สื่อชุดนิทาน (๓) สื่อชุดเกม ๒) รูปแบบวิธีสอน ได้แก่ (๑) แบบกิจกรรม (๒) แบบ 4 MAT (๓) แบบซิปปา ตามลำดับ
๒. การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน คือ ๑) องค์ประกอบการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ (๑) วิเคราะห์ตัวนำ ประกอบด้วย วิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์เวลาเรียน วิเคราะห์ออกแบบทดสอบ (๒) กระบวนการ ประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม กราฟิก/โปรแกรม (๓) ผลผลิต ประกอบด้วย บทเรียน แบบฝึกทักษะ การทดลองใช้ (๔) ประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย
การใช้จริง การวัดประเมินผล การนำไปเผยแพร่ นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้แก่
๑) นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้านสื่อสิ่งประดิษฐ์ ๒) นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้านรูปแบบวิธีการเรียนการสอน
๓. การนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนไปใช้ทำการตรวจสอบทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ
Download
|