การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรม ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามหลักพุทธวิธีการสอน ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามหลักพุทธวิธีการสอน
ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๔๘ รูป สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ คน สนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน
ผลการวิจัย พบว่า :
สภาพทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันตก โดยภาพรวมพระสอนศีลธรรมมีทักษะอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะการใช้วาจากิริยาท่าทาง ทักษะการอธิบาย ทักษะการสรุปบทเรียน ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน ทักษะการใช้อุปกรณ์การสอน ทักษะการใช้กระดานดำ ทักษะการใช้คำถามทักษะการเสริมกำลังใจผู้เรียน และทักษะการเร้าความสนใจในการสอน
การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามหลักพุทธวิธีการสอนมีองค์ประกอบที่นำมาใช้ในการพัฒนา ๔ ประการ คือ ๑) สภาพทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ๒) วิธีการพัฒนาทักษะการสอนด้วยการฝึกอบรม ๓) หลักการสอนด้วยวิธีการสอนตามทักษะการสอน ๙ ประการ ๔) หลักการสอนของพระพุทธเจ้า ๔ ประการ โดยใช้กระบวนการพัฒนารูปแบบจากองค์ประกอบของรูปแบบที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์
รูปแบบการพัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามหลักพุทธวิธีการสอน
ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ส่วนนำ มีประเด็น คือ ๑) สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรม ๒) หลักการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรม ๓) วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนของ
พระสอนศีลธรรม ส่วนที่ ๒ ตัวแบบ ประกอบด้วย ๑) ทักษะการสอน ๙ ประการ ๒) การฝึกอบรมพัฒนาทักษะ ส่วนที่ ๓ ขั้นตอนการนำไปใช้ คือ ๑) โดยการพัฒนาทักษะการสอน ๒) การจัดการฝึกอบรม พัฒนา ๓) การประเมินผลการฝึกอบรม ๔) เงื่อนไขการจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะ โดยการตรวจสอบรูปแบบ พบว่า มีความถูกต้องตามกระบวนการพัฒนารูปแบบ มีความเหมาะสม และ
มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะการสอนของพระสอนศีลธรรม
ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ
Download |