การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ เป็นรูปแบบผสมวิธีคือ ๑) การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามความคิดเห็นครูในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จำนวน ๔๐๐ ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ๒) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการจัดสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ ท่าน เพื่อใช้องค์ความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาเป็นรูปแบบและการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๘ ท่าน เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
๑. สภาพทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ ในภาพรวมทั้ง ๕ ด้าน คือ การติดตามประเมินผล การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การทำสื่อเทคโนโลยีการสอน และการจัดการเรียนรู้ให้เกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
๒. รูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๔ องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ ๑ หลักการ คือ การพัฒนาทักษะของครู และหลักของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน ประกอบด้วย ๑) พัฒนาเด็ก เยาวชนและประชาชนให้มีปัญญาและคุณธรรม ๒) เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนที่หลากหลาย ๓) เป็นฐานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ๔) เป็นสายใยเชื่อสัมพันธ์ชุมชน องค์ประกอบที่ ๒ จุดมุ่งหมาย ๑) เพื่อการพัฒนาทักษะครู
ในโรงเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ให้สามารถที่จะสร้างเสริมให้เกิดชุมชนคุณธรรม สังคมคุณธรรมจากการใช้พลังบวร คือ บ้าน-วัด-โรงเรียน (บวร)๒) เพื่อให้โรงเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้ดำเนินการพัฒนาทักษะของครูเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชนและศูนย์กลางการส่งเสริมอาชีพของชุมชน องค์ประกอบที่ ๓ ระบบการดำเนินการและองค์ประกอบที่ ๔ กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย ทักษะของครู ๖ ทักษะ ได้แก่ ทักษะการวางแผนการจัดการเรียนการสอนและบทเรียน ทักษะการจัดการชั้นเรียน ทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยี ทักษะองค์ความรู้ในวิชา ทักษะความเข้าใจในนักเรียน และทักษะครูในศตวรรษที่ ๒๑ และกระบวนการพัฒนาทักษะครู คือ ๑) การเรียนรู้ด้วยตนเอง
๒) การฝึกอบรม ๓) การศึกษาดูงาน ๔) การศึกษาต่อ ๕) การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ ๖) การแลกเปลี่ยนครูอาจารย์ระหว่างสถาบันฝึกอบรมกับสถานศึกษา
๓. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค ๑ พบว่า มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้
ในการพัฒนาทักษะครูในโรงเรียนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชนและศูนย์กลางการส่งเสริมอาชีพ
ของชุมชน
Download
|