หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูจันทสารสุตกิจ (สำราญ จนฺทสาโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๙ ครั้ง
รูปแบบการบริหารความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ภาค ๑ (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูจันทสารสุตกิจ (สำราญ จนฺทสาโร) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๕/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิน งามประโคน
  พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารคณะสงฆ์ของคณะสงฆ์ภาค 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ภาค 1 และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ภาค 1 เป็นรูปแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นพระสังฆาธิการ จำนวน 351 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการจัดสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 รูป/คน เพื่อใช้องค์ความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาเป็นรูปแบบ และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 รูป/คน เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารคณะสงฆ์ของคณะสงฆ์ภาค 1 ในภาพรวม ทั้ง 5 ด้าน พบว่า ด้านการกำกับดูแล มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่เหลือ 4 ด้าน คือ งานบุคลากร การจัดองค์กร การวางแผน และการอำนวยการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง

2. รูปแบบการบริหารความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ภาค 1 มีองค์ประกอบ 4 ประการ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ คือ พัฒนาศักยภาพคณะสงฆ์เพื่อสร้างศรัทธาและการสร้างเอกลักษณ์ และส่งเสริมให้พระพุทธศาสนามั่นคง ดำรงศีลธรรม นำสังคมสู่สันติสุขในยุคการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ คือเพื่อพัฒนาองค์กรคณะสงฆ์ให้ทันต่อสภาพแวดล้อม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยไม่ผิดหลักพระธรรมและวินัยสอดคล้องกับกฎหมายบ้านเมืองและกฎหมายมหาเถรสมาคม องค์ประกอบที่ 3 องค์ประกอบ 1) การบริหารคณะสงฆ์ ๒) การบริหารการเปลี่ยนแปลง 3) หลักพุทธธรรม และ องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหาร ประกอบด้วย
1) การบริหารคณะสงฆ์ 5 ด้าน คือ การวางแผน การจัดองค์การ งานบุคคล การอำนวยการ การกำกับดูแล ๒) การบริหารการเปลี่ยนแปลง ๔ ด้าน คือ ด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ด้านการเปลี่ยนแปลงคน ด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ และด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
๓) หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ ปาปณิกธรรม ๓ ได้แก่ ๑) จักขุมา
๒) วิธูโร และ ๓) นิสสยสัมปันโน

3. ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบรูปแบบการบริหารความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์
ภาค
1 พบว่า มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง อันเป็นการองค์กรคณะสงฆ์ให้ทันต่อสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ผิดหลักพระธรรมวินัย

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕