การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการเรียนการสอน ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักปัญญา ๓ และ ๓) เพื่อนำเสนอการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักปัญญา ๓ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๓๙๐ คน สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน สนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ รูป/คน
ผลการวิจัย พบว่า :
๑. สภาพทั่วไปของการจัดการเรียนการสอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านบทเรียนหรือเนื้อหาที่สอน ด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน
๒. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักปัญญา ๓ ประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ส่วนนำ ได้แก่ ๑) สภาพแวดล้อม หลักการ คือ การจัดการเรียนการสอน และการประกันคุณภาพการศึกษา ส่วนที่ ๒ ตัวแบบ ประกอบด้วย ๑) ระบบงาน องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอน ๖ ประการ ๒) กระบวนการจัดการ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการสอน ส่วนที่ ๓ ขั้นตอนการนำไปใช้ ประกอบด้วย ๑) โครงสร้าง ๒) การตัดสินใจ ๓) แนวทางการประเมิน และ ๔) เงื่อนไขความขึ้นอยู่กับบริบทของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแต่ละแห่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่ามีความเหมาะสม และสามารถนำรูปแบบไปใช้ได้
๓. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักปัญญา ๓ ประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ส่วนนำ ได้แก่ ๑) สภาพแวดล้อม หลักการ คือ การจัดการเรียนการสอน และการประกันคุณภาพการศึกษา ส่วนที่ ๒ ตัวแบบ ประกอบด้วย ๑) ระบบงาน องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอน ๖ ประการ ๒) กระบวนการจัดการ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการสอน ส่วนที่ ๓ ขั้นตอนการนำไปใช้ ประกอบด้วย ๑) โครงสร้าง ๒) การตัดสินใจ ๓) แนวทางการประเมิน และ ๔) เงื่อนไขความขึ้นอยู่กับบริบทของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแต่ละแห่ง
Download
|