การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อศึกษาการส่งเสริมพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้สำหรับนักเรียนประถมศึกษาอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ๓) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ด้วยหลักพุทธธรรม สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน จำนวน ๒๗๗ คน ทั้งหมด ๑ โรงเรียน และสัมภาษณ์ครูจำนวน ๖ คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
๑.ผลการวิจัยสภาพพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ภาพรวม ๕ ด้าน พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียน อยู่ในระดับมาก รายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก คือ พฤติกรรมความคิดริเริ่มตามหลักไตรสิกขา รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมความตั้งใจตามหลักไตรสิกขา พฤติกรรมความรักเรียนตามหลักไตรสิกขา พฤติกรรมความอยากรู้ตามหลัก และรายด้านความคิดเห็นอยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ พฤติกรรมความมีเหตุผลตามหลักไตรสิกขา ตามลำดับ
๒.ผลการส่งเสริมพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ ผู้ที่มีความกล้าที่จะคิด และทำสิ่งที่ผิดแปลกไปจากที่ผู้อื่นคิดหรือทำอยู่แล้ว โดยเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ลักษณะการเป็นผู้มีความคิดริเริ่มเป็นลักษณะสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ เพราะจะทำให้ค้นพบและประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม ความคิดสร้างสรรค์คือลักษณะของความคิดที่มีหลายมิติ หลายมุมมอง หลายทิศทาง สามารถคิดได้กว้างไกล ไร้กรอบ และไร้ขอบเขต
๓. การแสดงออกทางพฤติกรรมควรมีการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและประเพณีอยู่เสมอเพื่อให้เกิดการขัดเกลาทางด้านจิตใจทำให้เป็นคนดีคนเก่งและขยันสุจริตซื่อสัตย์อยู่เสมอควรมีการให้ความช่วยเหลือแนะนำวิธีการในการแก้ปัญหาและมีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมร่วมกันนักการอ่าน เพื่อกระตุ้นให้ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ทำ หรือ อยากรู้ อยากทำ อยากสร้างสรรค์ แสวงหาความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนด้วยรูปแบบของการจัดกิจกรรมร่วมกันบ่อยๆ เพื่อให้เกิดทักษะและปฏิบัติได้จริง และการปฏิบัติต่อผู้อื่นให้กับเด็กเป็นประจำสม่ำเสมอ
Download |