การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาวิชาชีพครูตามหลักอิทธิบาท ๔ และศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาวิชาชีพครูตามหลักอิทธิบาท๔ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๐ รูป/คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตามตารางของเครซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๑๒ รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .๙๗ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test (OneWay ANOVA) และก25วิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพการพัฒนาวิชาชีพครูตามหลักอิทธิบาท ๔ พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =๔.๒๔, S.D. = .๔๕) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ( = ๔.๒๑, S.D. = .๕๔) รองลงมาคือ ด้านมาตรฐานการปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาท ๔ ( = ๔.๒๑, S.D.= .๕๔) และด้านมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามหลักอิทธิบาท ๔ ( = ๔.๒๑ , S.D.= .๔๒) ตามลำดับ
๒. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ต่อการพัฒนาวิชาชีพครูตามหลักอิทธิบาท ๔ จำแนกตามสถานภาพ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. แนวทางในการพัฒนาวิชาชีพครูตามหลักอิทธิบาท ๔ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ มีดังนี้ ๑) ด้านมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมการจัดเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างเหมาะสม ควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง และสถานศึกษาควรสนับสนุนให้ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ๒) ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน ควรส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีการประสานความร่วมมือโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการกับสถานศึกษาอื่น ควรส่งเสริมการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้วยระบบข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและแม่นยำ และ ควรพัฒนาการประชาสัมพันธ์การจัดการศึกษาให้ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม เข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ๓) ด้านมาตรฐานการปฏิบัติตน ควรส่งเสริมการใช้ใช้องค์ความรู้หลากหลายในการปฏิบัติหน้าที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในองค์การ มุ่งมั่นส่งเสริมให้ศิษย์และผู้รับบริการ มีส่วนร่วมวางแผนการเรียนรู้ และควรส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
Download |