การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลัก
พรหมวิหาร ๔ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลัก
พรหมวิหาร ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๒ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นรูปแบบวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม ในการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น ๙๙๒ คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น ๒๗๘ คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง
เครซี่ และมอร์แกน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
มีค่าความเชื่อมั่น .๙๘ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่
, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และ F-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก
๑๒ คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง
เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
(Content Analysis Technique) ประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๒ พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๕, S.D. = .๑๔) และเมื่อจำแนก เป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงบประมาณตามหลักพรหมวิหาร ๔ ( = ๔.๑๐, S.D. = .๒๔) รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ ( = ๔.๐๖, S.D. = .๒๓) และด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักพรหมวิหาร ๔ ( = ๔.๐๓, S.D. = .๒๔) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักพรหมวิหาร ๔ ( = ๓.๙๙, S.D. = .๒๕)
๒. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ จำแนกตามระดับการศึกษา และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. แนวทางในการส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีดังนี้ ๑) ด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักพรหมวิหาร ๔ พบว่า ผู้บริหารควรส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยยึดหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความถูกต้อง แนะนำและช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ๒) ด้านการบริหารงบประมาณตามหลักพรหมวิหาร ๔ พบว่า ผู้บริหารควรแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดระบบการบริหารการเงิน บัญชี และพัสดุอย่างชัดเจน ด้วยความเป็นธรรมเสมอ ๓) ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร ๔ พบว่า ผู้บริหารควรยกย่อง สรรเสริญ และให้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานเพื่อนร่วมงานที่ทำประโยชน์ให้กับส่วนงานอย่างเสมอหน้ากัน และ ๔) ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักพรหมวิหาร ๔ พบว่า ผู้บริหารควรให้ความช่วยเหลือ ในการรับฟังความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างสม่ำเสมอ
Download
|